วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความประเสริฐของการละหมาดตะรอวีห



عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ الله عَنهُ أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : «مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ». (البخاري رقم 36، مسلم رقم 1266)

ความว่า จากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าจากท่าน รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า ผู้ ใดที่ลุกขึ้น(เพื่อละหมาดและประกอบอิบาดะฮฺ)ในคืนของเดือนเราะมะฎอน ด้วยความศรัทธาและหวังในความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ เขาจะได้รับการอภัยโทษจากความผิดบาปที่ผ่านมาของเขา (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 36 และมุสลิม หมายเลข 1266)

คำอธิบาย
            อะ มัลที่ศาสนาอิสลามส่งเสริมให้บรรดามุสลิมกระทำในเดือนเราะมะฎอน คือ การละหมาดในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็นการละหมาดตะรอวีหฺ และผลการตอบแทนในการปฏิบัตินั้นยิ่งใหญ่ไม่หย่อนไปกว่าการประกอบอิบาดะ ฮฺประเภทอื่นๆ ที่ใช้ให้ปฏิบัติในเดือนเราะมะฎอน เช่น การถือศีลอด เพราะต่างได้รับการสัญญาว่าจะได้รับการอภัยโทษในบาปที่กระทำมา           เฉก เช่นเดียวกับการตอบแทนที่ได้สัญญาแก่คนที่ปฏิบัติอะมัลอิบาดะฮฺในค่ำคืนลัย ละตุลก็อดรฺในด้านการได้รับอภัยโทษ ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับความมั่นใจของเราต่อคำสั่งของอัลลอฮฺ รวมทั้งความบริสุทธิ์ใจในการปฏิบัติอะมัลดังกล่าวด้วย
           
ส่วน หุก่มของการละหมาดตะรอวีหฺนั้น บรรดาอุละมาอ์ได้ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า เป็นสุนัตสำหรับชายและหญิง และใช้ให้ปฏิบัติทั้งในรูปแบบญะมาอะฮฺหรือในลักษณะต่างคนต่างทำ แต่การปฏิบัติในรูปแบบญะมาอะฮฺจะมีความประเสริฐมากกว่า


บทเรียนจากหะดีษ
1.      กล่าวถึงความประเสริฐของเดือนเราะมะฎอนและอิบาดะฮฺกิยามุลลัยลฺในเดือนเราะมะฎอน
2.      มีความยะกีน/มั่นใจต่อคำสั่งของอัลลอฮฺ และความบริสุทธิ์ในการประกอบอิบาดะฮฺนั้นถือว่าเป็นเงื่อนไขหลักของการได้มาซึ่งการตอบแทนจากอัลลอฮฺ (หมายถึงอัลลอฮฺจะทรงพิจารณาถึงความบริสุทธิ์ใจในการประกอบอิบาดะฮฺของบ่าว)
3.      ชี้ถึงเราะหฺมัตหรือความเมตตาของอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์จะให้อภัยต่อบาปต่างๆ ที่ผ่านมาแก่ผู้ที่ดำรงละหมาดในค่ำคืนเดือนเราะมะฎอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น