วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เหตุที่เกิดในโลกอาหรับ


 ประชาชนกำลังลุกฮือขึ้นมาโค่นล้มเหล่าผู้นำ อียิปต์และตูนิเซีย ไปจนถึงจอร์แดน, เยเมน, และไกลโพ้นไปจากนั้น พวกเขาไม่ได้ถูกขับเคลื่อนด้วยแรงจูงใจทางอุดมการณ์หรือทางศาสนาใดๆ ทั้งนั้น มีเพียงช่องว่างช่วงห่างทางด้านความมั่งคั่ง และความแตกต่างทางด้านวัย ซึ่งพวกผู้ปกครองที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนของพวกเขามากกว่า ย่อมจะสามารถลดทอนให้หดแคบและเข้าใกล้ให้มากขึ้นได้ ปัจจัยร่วมอีกประการหนึ่งที่เรียงร้อยตัวโดมิโนที่กำลังล้มครืนลงมาเหล่านี้ เข้าไว้ด้วยกัน ก็คือทุกๆ รายต่างได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาอย่างทั่วหน้า ทว่าความผูกพันโยงใยเช่นนี้กำลังถูกพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่ได้เป็นประโยชน์ อะไรต่อเหล่าจอมเผด็จการ หรือต่อกลุ่มนักเลงอันธพาลติดอาวุธของพวกเขา
      
       ดามัสกัสในเวลาไม่ถึงเดือน มีผู้นำชาติอาหรับ 4 คนได้เรียงหน้ากันก้าวออกมาแถลงให้คำมั่นสัญญาว่า พวกเขาจะไม่ลงเลือกตั้งต่ออีกแล้ว เมื่อวาระการดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญของพวกเขาสิ้นสุดลง
      
       คนแรกคือ ซิเน เอล อาบิดิเน เบน อาลี (Zine el-Abidine Ben Ali) แห่งตูนิเซีย ผู้พยายามทำการต่อสู้ในสมรภูมิแห่งความพ่ายแพ้กับพวกเยาวชนคนหนุ่มสาวชาว ตูนิเซียผู้โกรธเกรี้ยว แล้วก็ต้องลงจากอำนาจไปในวันที่ 14 มกราคม เพียงแค่ 24 ชั่วโมงหลังจากกล่าวคำปราศรัย ผมเข้าใจพวกคุณที่เวลานี้มีชื่อเสียงฉาวโฉ่ของเขาแล้ว เบน อาลี ผู้อยู่ในวัย 74 ปี ได้ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 1987 และแต่เดิมมีกำหนดจะลงเลือกตั้งอีกสมัยหนึ่งในปี 2014
      
       ถัดจากนั้นก็เป็นประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค (Hosni Mubarak) แห่งอียิปต์ ซึ่งชราและสุขภาพย่ำแย่ในวัย 83 ปี ภายหลังเผชิญกับการก่อการแข็งข้อทำนองเดียวกัน มูบารัคก็ประกาศว่าเขาจะไม่ขอรับการเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็น สมัยที่ 6 เมื่อวาระการดำรงตำแหน่งสมัยปัจจุบันของเขาสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน
      
       มูบารัคได้ปลดคณะรัฐบาลของ อาหมัด นัซซิฟ (Ahmad Nazzif), สัญญาที่จะให้เสรีภาพเพิ่มมากขึ้น, และประกาศว่าเขาจะไม่มีการยกอำนาจให้ กามัล (Gamal) บุตรชายของเขาที่อยู่ในวัย 50 ปีและเป็นนักธุรกิจทรงอิทธิพล รับทอดสืบต่อ ภายหลังที่ได้ยึดครองอำนาจอย่างเหนียวแน่นและเด็ดขาดมาตั้งแต่ปี 1981 การที่มูบารัคเพิ่งจะมาคิดดำเนินการ ปฏิรูปอะไรต่ออะไร ก็ดูจะน้อยเกินไปและล่าช้าเกินไปเสียแล้วสำหรับประชาชนชาวอียิปต์ผู้โกรธ แค้น (ในที่สุด มูบารัคก็ต้อง สละตำแหน่งไปในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ -ผู้แปล)
      
       จากนั้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ อาลี อับดุลเลาะห์ ซาเละห์ (Ali Abdullah Saleh) ประธานาธิบดีเยเมนวัย 69 ปี ก็ประกาศว่าเขาจะก้าวลงจากตำแหน่งในปี 2013 และเขาจะไม่ยกอำนาจให้แก่ อาหมัด ซาเละห์ (Ahmad Saleh) บุตรชายของเขา ทั้งนี้เขาครองอำนาจมาเป็นเวลา 33 ปีแล้วนับตั้งแต่ปี 1978
      
       และคนสุดท้าย นายกรัฐมนตรี นูริ อัล มาลิกิ (Nuri al-Maliki) แห่งอิรัก ที่มีอายุ 61 ปี ได้ออกมาแถลงว่าเขาจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งอีก เมื่อชาวอิรักไปลงหย่อนบัตรลงคะแนนครั้งต่อไปในปี 2014
      
       ขณะที่เหตุการณ์ทั้งหมดดังที่กล่าวนี้ทยอยบังเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา ไม่ถึงเดือนนั่นเอง พลังตามท้องถนนในโลกอาหรับยังส่งผลทำให้รัฐบาลในอีก 2 ประเทศต้องล้มคว่ำไปด้วย นั่นคือ รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ซามีร์ อัล ริไฟอิ (Samir al-Rifaii) แห่งจอร์แดน และของนายกฯ ซออัด อัล ฮาริรี (Saad al-Hariri) แห่งเลบานอน
      
       อะไรบางอย่างกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในโลกอาหรับ รวดเร็วมากๆ และบางทีอาจจะรวดเร็วเกินกว่าที่พวกจอมเผด็จการซึ่งแก่เฒ่าและเจ็บออดๆ แอดๆ จะสามารถเข้าใจหยั่งรู้ ทั้งนี้ผู้ที่ก่อการลุกฮือต่อต้านและโค่นล้มระบอบปกครองของพวกเขา (หรือบังคับให้พวกเขาต้องดำเนินการปฏิรูปอย่างเอาจริงเอาจัง) ก็คือบรรดาคนหนุ่มคนสาวทั้งหลาย ที่ส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี
      
       ในกรุงตูนิส เบน อาลี ได้พยายามที่จะขับไล่ปราบปรามคนหนุ่มคนสาวเหล่านีโดยใช้กำลัง และจากนั้นก็กวาดล้างจับกุมพวกเขาไปเป็นจำนวนมาก ส่วนในอียิปต์ มูบารัคส่งกลุ่มนักเลงอันธพาลของเขาเข้าทุบตีผู้ประท้วงวัยหนุ่มสาวด้วยไม้ กระบองและฟันพวกเขาด้วยดาบ เมื่อการกระทำเช่นนี้ไม่ได้ผล ตำรวจก็ได้รับคำสั่งให้เปิดฉากยิงใส่ แต่นั่นก็เช่นกันไม่สามารถที่จะทำลายความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่อย่างชนิดไม่มี อะไรหยุดยั้งได้ของพวกเขา หรือทำให้ความปรารถนาออย่างแรงกล้าที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพวกเขา ต้องอ่อนแรงลงไป
      
       ช่องว่างช่วงห่างทางอายุที่น้อยที่สุดระหว่างพวกเขากับเหล่าผู้นำของ พวกเขาก็คือในอิรัก กระนั้นก็ยังเป็นผลต่างที่สูงกว่า 35 ปี สำหรับในอียิปต์ มูบารัคแก่ชราขนาดเป็นคุณปู่คุณตาของผู้ชุมนุมประท้วงที่กริ้วโกรธแทบทุกคน ในจัตุรัสตอห์รีร์ (Tahrir Square) ในกรุงไคโร และเป็นที่ชัดเจนว่าพวกเขาสุดเซ็งสุดระอาใจที่จะต้องรับมือกับเขา
      
       มูบารัคเปิดปากหล่นถ้อยคำที่คนหนุ่มคนสาวไม่ต้องการได้ยินได้ฟังอีก ต่อไปแล้ว ขณะเดียวกันพวกเขาก็พูดจาด้วยภาษาที่เขาไม่สามารถเข้าใจได้ แล้วยังมีสิ่งที่ตามกระหน่ำซ้ำเติม เป็นต้นว่ารายงานของสื่อหลายกระแสที่ว่า มูบารัคมีทรัพย์สมบัติเป็นมูลค่าถึง 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งต้องถือเป็นตัวเลขที่โด่งทะลุฟ้าสำหรับประเทศที่ผู้คนหลายล้านคนมีราย ได้วันละไม่ถึง 2 ดอลลาร์ ตลอดระยะเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ระบอบปกครองของมูบารัคได้รับเงินช่วยเหลือจากสหรัฐฯราวๆ 30,000 ล้านดอลลาร์ ทว่ากลับไม่มีเศษเงินสักเล็กสักน้อยเลยที่เผื่อแผ่มาถึงกระเป๋าของสามัญชน ชาวอียิปต์ คงไหลเวียนกันอยู่แต่ในหมู่ชนชั้นปกครองที่แวดล้อมประธานาธิบดีผู้นี้เท่า นั้น
      
       คนหนุ่มคนสาวที่ออกมาชุมนุมประท้วงเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วยังไม่ได้ แต่งงาน ไม่มีภรรยาและลูกให้คอยห่วงใย และทุกคนต่างเหม็นเบื่อสุดเซ็งกับการทุจริตคอร์รัปชั่น, ความยากจน, การเล่นพรรคเล่นพวก, และการเพิกเฉยไม่แยแสอย่างสิ้นเชิงต่อเสียงเรียกร้องซ้ำๆ ซากๆ ของพวกเขา
      
       น่าสังเกตว่าทั้งในอียิปต์และตูนิเซีย พวกผู้ชุมนุมประท้วงไม่ได้มีผู้นำเดี่ยวโดดเด่นให้พวกเขาคอยเดินตามแต่อย่าง ไร ไม่เหมือนกับในกรณีของการปฏิวัติส่วนใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นในโลก ไม่มีบุคคลอย่างวลาดิมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) ในกรณีของรัสเซีย ไม่มีบุคคลอย่าง รูโฮลเลาะห์ โคไมนี (Ruhollah Khomeini) ของอิหร่าน หรือกระทั่งบุคคลอย่าง กามัล อับเดล นัสเซอร์ (Gamal Abdel Nasser) แห่งอียิปต์ยุคทศวรรษ 1950 เป็นผู้นำพาหนุ่มสาวชาวอาหรับเหล่านี้
      
       นอกจากนั้นยังไม่มีแรงขับดันทางอุดมการณ์หรือทางศาสนาใดๆ อีกด้วย การลุกฮือคราวนี้ไม่ใช่การปฏิวัติอิสลาม หรือการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ ไม่ใช่ทั้งการปฏิวัติมาร์กซิสต์ หรือการปฏิวัติทุนนิยม เราไม่เห็นพวกนักการศาสนาสวมผ้าโพกศีรษะกำลังพยายามโค่นกษัตริย์ชราและเผด็จ การ เหมือนกรณีที่เกิดขึ้นในอิหร่านเมื่อปี 1979 และเราไม่พบพวกนายทหารหนุ่มหรูหรามากสีสันกำลังพยายามโค่นกษัตริย์หนุ่มที่ หรูหรามากสีสันพอๆ กัน อย่างที่เกิดขึ้นในอียิปต์ในปี 1952
      
       นอกจากนั้นแล้ว เรายังไม่พบขบวนรถถังอเมริกันแล่นทะยานพุ่งเข้าไปในเมืองหลวงต่างๆ ของชาติอาหรับ โค่นล้มผู้เผด็จการซึ่งแท้ที่จริงแล้ววอชิงตันเองนั่นแหละได้อุปถัมภ์ชุบ เลี้ยงมานมนานหลายปี เหมือนกับกรณีที่เกิดขึ้นในอิรักเมื่อปี 2003
      
       ดูเหมือนว่าไม่มีหนังสือหนังหาที่สร้างแรงบันดาลใจหรือที่ทรง อิทธิพลอย่างพิเศษ ซึ่งพวกผู้ประท้วงเหล่านี้กำลังอ่านกันอยู่ เมื่อตอนที่พวกเขาตัดสินใจที่จะลุกขึ้นยืนท้าทายจอมเผด็จการ นอกจากนั้นก็ไม่ได้มีคำประกาศแถลงการณ์ลับใดๆ, ไม่มีโรงพิมพ์ลับที่แอบซ่อนอยู่ในห้องใต้ดินคอยตีพิมพ์หนังสือเล่มเล็กๆ ชี้นำการต่อสู้, และก็ไม่มีคำปราศรัยอันดุเดือดเผ็ดร้อนให้ได้ยินกันทางสถานีวิทยุหรือสถานี ทีวีของพรรคฝ่ายค้าน สิ่งที่จุดชนวนให้แก่การลุกฮือขึ้นมาเหล่านี้ก็คือ ข้อความที่ส่งกันทางเอสเอ็มเอส, ข้อความทางทวีตเตอร์ และทางกลุ่มต่างๆ ในเฟสบุ๊ก ข้อความในโลกเสมือนจริงทั้งหมดเหล่านี้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อที่ในเวลาอีกไม่นานก็จะถูกลบ ทิ้งไป หรือถูกปล่อยจมปลักอยู่ในซอกหลืบที่ถูกหลงลืมในโลกออนไลน์
      
       โลกอาหรับอย่างที่เราๆ ท่านๆ ทั้งหลายรู้จักกัน โลกที่ประชาชนถูกกดขี่บังคับให้ต้องยึดมั่นปฏิบัติตามระบอบเผด็จการรวบอำนาจ อย่างมืดบอดนั้น ได้จบสิ้นลงไปแล้ว และมันก็ไม่มีท่าทีว่ากำลังจะกลับมาได้อีก ในช่วงเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา ผู้คน 3 ชั่วอายุคนทีเดียวเติบโตขึ้นมาด้วยความเชื่อที่ว่า พวกเขาไม่มีทางเลยที่จะเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงอันน่าสลดหดหู่ของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ระบอบปกครองในประเทศของพวกเขาเหล่านี้สามารถที่จะก้าวขึ้นสู่อำนาจและประคับ ประคองรักษาอำนาจเอาไว้ได้ ก็เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา
      
       ปัจจัยเรื่องสหรัฐฯนี้ เป็นลักษณะร่วมที่เชื่อมโยงมูบารัค, ฮาริรี, เบน อาลี, มาลิกิ, และ ซาเละห์ เข้าด้วยกัน พวกเขาทั้งหมดต่างก็ได้กระทำตัวเองให้มีประโยชน์แก่คณะรัฐบาลสหรัฐฯชุดแล้ว ชุดเล่า ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็น, การต่อสู้กับลัทธิโคไมนีภายหลังการปฏิวัติอิหร่านปี 1979, และการต่อสู้กับลัทธิอิสลามเคร่งจารีตภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001
      
       พวกเขาทั้งหมดต่างแสดงจุดยืนซึ่งไม่เป็นที่นิยมชมชื่นอย่างยิ่งของ ประชาชนของพวกเขาเอง ในการคัดค้านขัดขวางกลุ่มต่อต้านที่แสนจะเป็นที่นิยมชนชื่นในปาเลสไตน์และใน เลบานอน และจุดยืนของพวกเขาก็ถูกถ่ายทอดเข้าไปในบ้านเรือนชาวอาหรับทุกหนทุกแห่งโดย ผ่านสถานีโทรทัศน์ภาษาอาหรับ อย่างเช่น อัลญะซีเราะห์ (al-Jazeera) สืบเนื่องจากลักษณะร่วมกันเหล่านี้เอง ผู้นำเหล่านี้ทั้งหมดจึงต้องเผชิญกับชะตากรรมคล้ายคลึงกันในเดือนมกราคมแห่ง การตัดสินชี้ชะตาของปี 2011
      
       บางทีอาจจะมีประเทศที่ถือเป็นกรณียกเว้นอยู่เพียงประเทศเดียว นั่นคือ ซีเรีย เมื่อต้นเดือนนี้ มีกลุ่มนักเคลื่อนไหวไม่ประกาศชื่อกลุ่มหนึ่ง พยายามอาศัยเฟสบุ๊กเพื่อเรียกร้องให้ผู้คนออกมาชุมนุมประท้วงในวันแห่งความโกรธแค้นในกรุงดามัสกัส เฉกเช่นเดียวกับที่มีกลุ่มเคลื่อนไหวจัดกันขึ้นทั้งในตูนิเซีย, จอร์แดน, และอียิปต์ พวกนักหนังสือพิมพ์ชาติตะวันตกหลายต่อหลายคนทีเดียว รีบบินเข้ามาในซีเรียเพื่อคอยเฝ้าชมละครอันน่าตื่นเต้นที่ประชาชนช่วยกันโค่นล้มรัฐบาลของพวกเขา
      
       ทว่าพวกเขากลับต้องประสบกับความเซอร์ไพรซ์ครั้งใหญ่ ตลอดทั่วทั้งซีเรียไม่ได้มีการชุมนุมเดินขบวนอะไรกันเลย บางผู้คนในโลกตะวันตกคาดหมายเอาไว้ว่าพวกผู้ชุมนุมจะปรากฏตัวขึ้นตามท้องถนน และปะทะกับกองกำลังความมั่นคงของซีเรีย ทว่าเหตุการณ์เช่นนี้มิได้บังเกิดขึ้น และเหตุผลของเรื่องนี้ก็มีหลายอย่างหลายประการ
      
       ประการหนึ่งคือ ไม่เหมือนกับ มูบารัค หรือ เบน อาลี ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด (Bashar al-Assad) ของซีเรีย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวัย 44 ปี เป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมชมชอบอย่างสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนหนุ่มคนสาว คนหนุ่มสาวชาวซีเรียจึงไม่เหมือนกับคนหนุ่มสาวชาวตูนิเซียหรือชาวอียิปต์ พวกเขาไว้เนื้อเชื่อใจในประธานาธิบดีของพวกเขา และมองเขาว่าเป็นคนหนึ่งในหมู่พวกเขา เป็นคนหนึ่งที่ทำงานอย่างหนักมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมาเพื่อยกระดับรายได้ของพวกเขา, จัดหาตำแหน่งงานใหม่ๆ ให้แก่พวกเขา, และสร้างสังคมที่ดีงามลึกซึ้งยิ่งขึ้น ถึงแม้จะมีสหรัฐอเมริกาคอยหาเรื่องสร้างอุปสรรคนานาเพื่อขัดขวางการทำงานของ เขาก็ตามที
      
       พูดกันอย่างย่นย่อ อัสซาดเป็นบุคคลที่อยู่เบื้องหลังมหาวิทยาลัยภาคเอกชนและธนาคารภาคเอกชน ซึ่งได้ส่งผลทำให้เกิดการปรับขึ้นค่าจ้างและหว่านเมล็ดพันธุ์ชนชั้นกลางที่ เวลานี้กำลังก้าวผงาดขึ้นมาของซีเรีย, ความรุ่งเรืองเฟื่องฟูของการกีฬา, อินเทอร์เน็ต, สื่อมวลชนภาคเอกชน, และองค์กรนอกภาครัฐบาลที่ขับดันโดยภาคสังคม
      
       ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลของเขาจัดตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ครอบ ครัวที่ยากจนข้นแค้น 450,000 ครอบครัว และเขาได้ทำให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างรวมกันแล้วมากกว่า 100% ในรอบ 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น ขณะที่มูบารัคใช้ชีวิตอยู่เบื้องหลังแนวกำแพงสูงลิ่วของวังของเขาในกรุงไคโร อัสซาดกลับเป็นประธานาธิบดีที่ประชาชนเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย โดยบ่อยครั้งมักเห็นเขาปะปนอยู่ในหมู่สามัญชนชาวซีเรีย, รับประทานอาหารค่ำกับภรรยาและลูกๆ ของเขา, ขับรถด้วยตัวเองไปรอบๆ เมือง, ปรากฏตัวไปชมการแสดงละครและนิทรรศการต่างๆ
      
       เขาพบปะกับผู้คนจากทุกชนชั้นทุกอาชีพแทบจะเป็นประจำทุกวัน รับฟังความคิดเห็นของพวกเขา และคอยติดตามเพื่อทำให้ความวิตกกังวลของพวกเขาได้รับการแก้ไขคลี่คลายโดยรวด เร็ว จุดยืนของเขาต่อกลุ่มฮามาส ในดินแดนฉนวนกาซา และต่อกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ในเลบานอน ทำให้เขาได้รับความนิยมอย่างมหาศาลจากประชาชนคนเดินถนนชาวซีเรีย และยิ่งได้รับการเสริมส่งมากขึ้นอีกจากข้อเท็จจริงที่ว่า เขาปฏิเสธไม่ยอมค้อมหัวแม้เผชิญแรงกดดันจากสหรัฐฯ ในระหว่างช่วงปีอันยากลำบากแห่งยุค จอร์จ ดับเบิลยู บุช ครองทำเนียบขาว
      
       by    ซามี โมวบายเอด เป็นนักวิเคราะห์การเมือง และศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยชาวซีเรีย เขายังเป็นบรรณาธิการใหญ่ของนิตยสาร ฟอร์เวิร์ด แมกกาซีน (Forward Magazine)

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Islamic Bank of Thailand
นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ
กรรมการผู้จัดการ
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
‚โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทาเถิด หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาจะได้อยู่กับฉันในสวรรค์‛
(บันทึกโดย อัลติรมีษี)
Importance of Purifying the Source of Income in Islam
ร่างกายของมนุษย์ที่ได้รับการหล่อเลี้ยงจากสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ และขัดต่อหลักการของอิสลาม เขาผู้นั้นจะต้องตกนรกหมกไหม้
ในวันพิพากษาเขาจะถูกปล่อยให้ทนทุกข์ทรมานจนกว่าเขาจะถูกเรียกมาถามถึงแหล่งที่มาของรายได้ของเขาว่าถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ และเขาใช้ไปในหนทางที่ถูกต้องหรือไม่
การทำร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ ตามคำสั่งสอนของท่านศาสดามูฮัมมัด เป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์
Introduction
ธนาคารอิสลามให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้าโดยไม่มีริบา (ดอกเบี้ย)
อิสลามห้ามมุสลิมเข้าไปเกี่ยวข้องกับ ริบา (ดอกเบี้ยคือ ริบา)
จากข้อห้ามดังกล่าวทำให้ระบบงานของธนาคารตามระบบอิสลามแตกต่างจากระบบของธนาคารพาณิชย์ทั่วไป
ธนาคารอิสลามเป็นระบบธนาคารอีกระบบหนึ่งที่อยู่ภายใต้กรอบของหลักชะรีอะฮ์ ที่ดำเนินตามแนวทาง เศรษฐศาสตร์อิสลาม
หลักชะรีอะฮ์ ห้ามการเข้ายุ่งเกี่ยวกับริบาหรือดอกเบี้ยทั้งรับและจ่าย
นโยบายการทำธุรกิจของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
หลักการในการทาธุรกิจของธนาคารแบ่งออกเป็น ๒ หลักการใหญ่คือ
หลักการที่ ๑
ดาเนินธุรกิจภายใต้หลักชะรีอะฮ์อย่างเคร่งครัด
ห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย (riba) และความไม่แน่นอนหรือความผันผวน (qharah)
ห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกรรมหรือบริการที่ขัดต่อหลักชะรีอะฮ์ (haram business, haram products & services)
หลักการอันที่ ๒
Profitability with Ethics เน้นการสร้างกาไรแบบมีคุณธรรม
Safety มีความปลอดภัยในการทาธุรกิจ
Part I
ความหมายของคำบางคำที่ควรรู้
คำศัพท์ที่ใช้ในการศึกษาอิสลาม
๑.อัลกุรอาน (Qura๏an)
๒.ซุนนะฮ์
คำศัพท์ที่ใช้อ้างอิงถึงในการเข้าใจอิสลาม(Sunnah)
๓.ฮะดีษ
(Hadith)
หมายเหตุ
: ซุนนะฮ์ หมายถึงซุนนะฮ์ของท่านนบีมูฮัมมัดเท่านั้น
อัลกุรอาน
(Al-Qura’an)
อัลกุรอาน หรือคัมภีร์กุรอาน
อัลกุรอาน เป็นชื่อคัมภีร์ของศาสนาอิสลาม อัลเลาะฮ์ (ซ.ล.) ทรงประทานอัลกุรอานให้แก่ศาสดามูฮัมมัดโดยผ่านเทวทูตเพื่อให้ศาสดามูฮัมมัดประกาศแก่มนุษย์ทั่วโลก
อัลกุรอานถูกประทานครั้งแรกในคืน อัลก็อดริ คืนอันจำเริญ ซึ่งเป็นคืนหนึ่งในเดือนรอมฎอน เดือนที่ ๙ ของปฏิทินอิสลาม
อัลกุรอาน
(Al-Qura๏an)
อัลกุรอานเป็นคำตรัสของอัลเลาะฮ์ เป็นทางนำอันเที่ยงตรง ไม่มีความเท็จใดๆ ในอัลกุรอานไม่มีการแก้ไข ต่อเติม หรือเปลี่ยนแปลง นับจาก อัลเลาะฮ์ได้ประทานลงมา และไม่มีข้อความใดในอัลกุรอานที่ขัดแย้งกัน แต่จะมีข้อความ ที่อธิบายซึ่งกันและกัน
อัลกุรอาน เป็นภาษาอาหรับแบ่งออกเป็น ๓๐ยุซ มี ๑๑๔ บทหรือซูเราะฮ์ แบ่งออกเป็น ๖,๒๓๖ โองการหรืออายะฮ์
อัลกุรอาน
(Al-Qura๏an)
อัลกุรอาน บอกทุกสิ่งทุกอย่างในการดำเนินชีวิต ตั้งแต่การเคารพภักดีต่อ อัลเลาะฮ์เพียงองค์เดียว การปฏิบัติต่อพ่อแม่ การปฏิบัติต่อคนอื่น การทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว จรรยามารยาท การศึกษา ความอดทน การอาชีพ การเศรษฐกิจ การปกครอง การแต่งงาน การแบ่งมรดก การชำระหนี้ ประวัติศาสตร์ประชาชาติในอดีต และบอกเรื่องราวในอนาคต ฯลฯ
มุสลิมทุกคนต้องอ่านอัลกุรอานให้ได้และต้องอ่านเป็นประจำ รวมทั้งต้องศึกษา ให้เข้าใจความหมาย เพื่อที่จะได้เข้าใจในบัญชาของอัลเลาะฮ์ได้อย่างถูกต้อง และเมื่อได้ยินเสียงอ่านอัลกุรอานทุกคนต้องเงียบ ตั้งใจฟังคำตรัสของอัลเลาะฮ์ เพื่อที่จะได้รับความเมตตาจากอัลเลาะฮ์เพิ่มขึ้น
อัลกุรอานเป็นธรรมนูญแห่งชีวิตมุสลิม
อัลกุรอานถูกประทานลงมายังศาสดามูฮัมมัด เป็นระยะๆ ทั้งที่เมืองมักกะฮ์และเมืองมะดีนะฮ์ รวมระยะเวลา ๒๓ ปี ตั้งแต่ศาสดามูฮัมมัดมีอายุ ๔๐ ปี จนถึงอายุ ๖๓ ปี
ฟัตวา Fatwa คือคาวินิจฉัยภายใต้หลักชะรีอะฮ์ของคณะกรรมการชะรีอะฮ์ หรือนักวิชาการอิสลามที่เป็นที่ยอมรับ
คำที่ควรรู้ในการศึกษาอิสลาม
Liquidity มีสภาพคล่องที่ดี

ศัพท์การเงินตามหลักชารีอะห์

Bai’ Bithaman Ajil - บัยอ์ บิซะมัน อาญิล (การขายแบบผ่อนชำระ) คือ การขายทรัพย์สินลักษณะผ่อนชำระรายงวดภายในระยะเวลาที่ตกลง โดยมีราคาขายเท่ากับราคาทุนบวกด้วยกำไร ตามที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงกัน
 
Bai’ al-Inah - บัยอ์ อัลอีนะฮ์ (การขายและซื้อคืนทันที) คือ การขายและซื้อคืนทรัพย์สิน ซึ่งมีผู้ขายและ   ผู้ซื้อคืนทรัพย์สินเป็นบุคคลคนเดียวกัน นั่นคือ ผู้ขายจะขายทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อก่อนโดยรับชำระเป็นเงินสด และผู้ขายจะซื้อทรัพย์สินเดียวกันนั้นคืนทันทีโดยการผ่อนชำระ ซึ่งราคาขายโดยการผ่อนชำระ จะสูงกว่าราคาขายที่เป็นเงินสด และสามารถเป็นได้ในลักษณะกลับกัน คือ ขายทรัพย์สินก่อนโดยรับชำระแบบผ่อน และขายทรัพย์สินคืนชำระด้วยเงินสดซึ่งมีราคาต่ำกว่า
Bai’ al-Istijrar - บัยอ์ อัลอิสติจรอร์ด (การขายส่ง) คือ การขาย ที่ผู้ซื้อผู้ขายตกลงซื้อขายสินค้าเป็นระยะเวลาต่อเนื่องเป็นประจำ เช่นทุกวัน ทุกสัปดาห์ ตามรายการ ราคา จำนวน และวิธีการชำระ สินค้า ที่ระบุไว้ในสัญญา
 
Bai’ as-Salam - บัยอ์ อัสซะลัม (การซื้อขายล่วงหน้า) คือ การซื้อขาย ที่มีการชำระเงินค่าสินค้าทั้งหมด ณ วันที่ทำสัญญา โดยที่การส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ จะเกิดขึ้นในอนาคตตามรูปแบบ คุณลักษณะ และกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา
 
Bai’ al-Wafa’ - บัยอ์ อัลวาฟาอ์ (การขายฝาก) คือ การซื้อขายที่มีเงื่อนไขว่า เมื่อผู้ขายชำระเงินคืนค่าทรัพย์สินที่ขายไปแล้ว ผู้ซื้อจะส่งมอบทรัพย์สินคืนให้แก่ผู้ขาย โดยระหว่างที่ทรัพย์สินอยู่ภายใต้การครอบครองของผู้ซื้อ ผู้ซื้อมีสิทธิที่จะใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นได้จนกว่าจะมีการซื้อคืน
 
Ijarah - อิญาเราะฮ์ (การเช่า) คือ การเช่าที่ผู้มีสิทธิในทรัพย์สินตกลงให้อีกฝ่ายหนึ่งเช่าทรัพย์สิน ในอัตราค่าเช่าและระยะเวลาการเช่า ที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน

Ijarah Wal Iqtina - อิญาเราะฮ์วัลอิกตินาอ์ (การเช่าซื้อ) คือ การเช่าที่ผู้มีสิทธิในทรัพย์สินตกลงให้อีกฝ่ายหนึ่งเช่าทรัพย์สิน ในอัตราค่าเช่าและระยะเวลาการเช่า ที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน และเมื่อครบกำหนดการเช่าแล้ว กรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้เช่าทันทีโดยไม่ต้องมีสัญญาจะซื้อเป็นเงื่อนไข โดยอัตราค่าเช่าจะบวกราคาขายเข้าไปด้วย
 
Ijarah Thumma al-Bai’ - อิญาเราะฮ์ ซุมมา อัล บัยอ์ (การเช่าและซื้อ) คือ สัญญาที่ประกอบด้วยสัญญาเช่า (Ijarah) ซึ่งผู้ให้เช่าตกลงให้เช่าทรัพย์สินแก่ผู้เช่า ในอัตราค่าเช่าและระยะเวลาการเช่าที่ตกลงกัน และสัญญาซื้อ (Bai’) ซึ่งเป็นสัญญาจะซื้อทรัพย์สินจากผู้ให้เช่าในราคาที่ตกลงเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการเช่า
Istisna - อิสติสนา (การว่าจ้างทำของ) คือ การซื้อทรัพย์สินตามการสั่งซื้อ และการส่งมอบจะเกิดขึ้นในอนาคต การซื้อขายลักษณะนี้ ผู้ซื้อจะกำหนดให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง (ผลิตหรือทำของ) ส่งมอบทรัพย์สินที่ต้องผลิตหรือจัดทำตามรูปแบบและคุณลักษณะที่ระบุในสัญญา โดยที่ราคาซื้อขายเป็นไปตามที่ตกลงกัน ส่วนการชำระอาจล่าช้าออกไปตามงวดงานก็ได้
 
Mudharabah - มุดอรอบะฮ์ (การแบ่งปันกำไร) คือ สัญญาที่ทำขึ้นระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือเจ้าของทุน (rab al-mal) หรือผู้ลงทุน ซึ่งอยู่ในรูปเงินลงทุนเท่านั้น และอีกฝ่ายหนึ่งคือผู้ประกอบการ/ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจ (mudharib) เพื่อดำเนินธุรกิจกัน กรณีที่ธุรกิจมีกำไร กำไรจะถูกแบ่งกันตามสัดส่วนที่ตกลง หากธุรกิจเกิดขาดทุน ผู้ลงทุนจะต้องรับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเงินลงทุน
 
Murabahah - มุรอบาฮะฮ์ (การขายแบบบวกกำไร) คือ การซื้อขายทรัพย์สิน ที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงชำระราคาต้นที่ถูกเปิดเผยบวกด้วยกำไรที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน
 
Musharakah - มุชารอกะฮ์ (การเป็นหุ้นส่วน) คือ การเป็นหุ้นส่วนระหว่างบุคคล 2 ฝ่ายหรือมากกว่า ในการร่วมทุนดำเนินธุรกิจ โดยที่แต่ละฝ่ายจะต้องลงทุนไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเงิน หรือ ทรัพย์สิน กรณีที่ธุรกิจมีกำไร จะถูกแบ่งกันตามสัดส่วนที่ตกลง หากธุรกิจเกิดขาดทุน จะต้องแบ่งความเสียหายตามสัดส่วนการลงทุนด้วยเช่นกัน
 
Qardhul Hasan - ก็อดดุล ฮาซัน (เงินกู้ไม่หวังผลตอบแทน) คือ การกู้ ระหว่างบุคคลสองฝ่าย ในลักษณะเป็นการช่วยเหลือเพื่อการเป็นอยู่ที่ดีของสังคม หรือเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้กู้ที่มีปัญหาทางการเงินระยะสั้น การชำระเงินกู้คืนต้องมีจำนวนเท่ากันกับตอนที่กู้ อย่างไรก็ตามผู้กู้สามารถชำระเงินกู้คืนในจำนวนที่เกินกว่า แต่ต้องไม่มีการระบุหรือตกลงในสัญญา
 
Bai’ al-Dayn - บัยอ์ อัลดัยน์ (การซื้อขายหนี้) คือ ธุรกรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์หรือตราสารหนี้ที่ไม่ขัดกับหลักชะรีอะฮ์ โดยที่หลักทรัพย์หรือตราสารหนี้นั้นเป็นการออกโดยลูกหนี้เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันการเป็นหนี้การค้า
 
Bai’ Muzayadah - บัยอ์ มุซายาดะฮ์ (การซื้อขายด้วยวิธีประกวดราคา) คือ การขายทรัพย์สินให้กับผู้สนใจจะซื้อด้วยวิธีการประกวดราคา ทรัพย์สินจะถูกขายให้กับบุคคลที่ให้ราคาซื้อสูงที่สุด การซื้อขายลักษณะนี้เหมือนการประมูล
 
Kafalah - กะฟาละฮ์ (การค้ำประกัน) คือ การจัดทำสัญญาค้ำประกันระหว่างคู่สัญญา กับบุคคลที่สาม เพื่อค้ำประกันภายใต้เงื่อนไขที่ระบุตามสัญญาในระยะเวลาที่ตกลงกันโดยคู่สัญญา
 
Hibah - ฮิบะฮ์ (การให้) คือ การให้ที่บุคคลหนึ่งประสงค์จะมอบให้อีกฝ่ายหนึ่ง
 
Hiwalah - ฮิวาละฮ์ (การโอน) คือ การโอนเงิน/หนี้ จากบัญชีผู้โอน/บัญชีลูกหนี้ ไปยังบัญชีผู้รับโอน/บัญชีเจ้าหนี้
 
Ibra’ - อิบรออ์ (การปลดหนี้) คือ การที่บุคคลหนึ่งถอนสิทธิในการเรียกเก็บเงินทั้งหมดหรือบางส่วนจากอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งมีหน้าที่ต้องจ่ายหนี้ที่ค้างอยู่
 
Ittifaq Dhimni - อิตติฟาก ดิมนี (การตกลง) คือ การขาย และการซื้อคืนทรัพย์สินที่มีการตกลงราคากันไว้ล่วงหน้าก่อนที่สัญญาจะเสร็จสิ้น ซึ่งการตกลงนี้ต้องยุติก่อนที่สัญญาจะเสร็จสิ้นเพื่อใช้ในกระบวนการประกวดราคา
 
Rahnu - เราะฮ์นู (การจำนำ) คือ การที่ลูกหนี้นำทรัพย์สินมีค่ามาวางเป็นหลักประกัน หากเกิดมีการผิดนัดชำระหนี้สามารถนำหลักทรัพย์นั้นไปขายเพื่อชำระหนี้ได้
 
Ujr - อัจร (ค่าจ้าง) คือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากการให้บริการ ซึ่งอาจเป็นรูปแบบของเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง ค่า-นายหน้า เป็นต้น
 
Wakalah - วะกาละฮ์ (การเป็นตัวแทน) คือ สัญญาซึ่งมอบอำนาจให้กับบุคคลหนึ่ง เพื่อกระทำการแทนตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่ตกลงกัน