วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554


อิสลามกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 
     ศาสนาอิสลามได้สอนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นเวลา 1428 ปีมา แล้ว ดังที่อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

وَلاَ تَجْعَلْ يَدَكَ مَغْلُولَةً إِلَى عُنُقِكَ وَلاَ تَبْسُطْهَا كُلَّ الْبَسْطِ فَتَقْعُدَ مَلُوماً مَّحْسُوراً

  [17.29] และอย่าให้มือของเจ้าถูกตรึงอยู่ที่คอของเจ้า และอย่าแบมันจนหมดสิ้น มิฉะนั้นเจ้าจะกลายเป็นผู้ถูกประนาม เศร้าโศกเสียใจ
…………



     โองการข้างต้น สอนให้มนุษย์ อย่าได้เป็นคนที่ตระหนี่และฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย เพราะจะทำให้หมดเนื้อหมดตัวและเสียใจในภายหลัง โดยให้มีความพอดี พอประมาณในการใช้จ่าย ไม่ตระหนี่จนเกินไป เพราะการตระหนี่จนเกินไปนั้นคือ การปิดกั้นความสุขที่ตนพึงได้

     และเป็นการปิดกั้นสิทธิทางกายที่กายพึงได้รับ และไม่ใช้จ่ายจนเกินความพอดี จนเกิดความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น นี้คือ หลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่อิสลามสอนไว้

  อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลาตรัสว่า

يَا بَنِي آدَمَ خُذُواْ زِينَتَكُمْ عِندَ كُلِّ مَسْجِدٍ وكُلُواْ وَاشْرَبُواْ وَلاَ تُسْرِفُواْ إِنَّهُ لاَ يُحِبُّ الْمُسْرِفِينَ

  [7.31] ลูกหลานของอาดัมเอ๋ย ! จงเอาเครื่องประดับกายของพวกเจ้า ณ ทุกมัสยิดและจงกินและจงดื่ม และจงอย่าฟุ่มเฟือย แท้จริงพระองค์ไม่ชอบบรรดาผู้ที่ฟุ่มเฟือย

     ความพอเพียงไม่ได้มีความหมายทางเศรษฐกิจเท่านั้นแต่ความพอเพียงคือสิ่งที่เราทำแล้วมีความสุขโดยไม่มากจนเกิดผลเสียหรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ...

  ท่านนบี ศอ็ลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

أفلح من هدي إلى الإسلام ، وكان عيشه كفافا ، وقنع به

     ผู้ที่ได้รับการชี้นำสู่อัลอิสลามนั้น ได้รับความสำเร็จ โดยที่ การดำรงชีวิตของเขานั้น เป็นเศรษฐกิจพอเพียง และเขาพอใจด้วยสิ่งนั้น
- ดูสิลสิละฮอัศเศาะฮีหะฮ เล่ม 4 หน้า 10 หะดิษหมายเลข 1506

  และอีกสำนวนหนึ่งระบุว่า

طُوبَى لِمَنْ هُدِيَ لْلاِسْلاَمِ وَكَاَنَ عَيْشُهُ كَفَافاً وَقَنَعَ

     ความผาสุกจะได้แก่ผู้ที่ได้รับการชี้นำสู่อัลอิสลาม โดยที่ การดำรงชีวิตของเขานั้น เป็นเศรษฐกิจพอเพียง และเขาพอใจด้วยสิ่งนั้น
 – เป็นหะดิษเศาะเฮียะ บันทึกโดย อิบนุหิบบานและอัลหากิม

     หลักเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นอมตะ สามารถใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในทุกยุคทุกสมัย
.............
วะบิลลาฮิตเตาฟิก วัลฮิดายะฮ
โดย อะสัน หมัดอะดั้ม
ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
                “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
                มีหลักพิจารณา ดังนี้
                กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
                คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
                คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
                เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี