วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อีดิลฟิฏรี (Eid-ul-Fitr) วันเฉลิมฉลองการออกศีลอดของชาวมุสลิม

               
          วันเฉลิมฉลองการออกศีลอดของชาวมุสลิม ที่เรียกว่า อีดิลฟิฏรี (Eid-ul-Fitr) หรือมักเรียกสั้นๆ ว่า อีด (Eid) ถือเป็นการสิ้นสุดเทศกาลถือศีลอด รอมะฎอน (Ramadan) ในช่วงเดือนที่ผ่านมา

“อีด (Eid)” เป็นคำที่มาจากภาษาอารบิก ที่แปลว่า “การเฉลิมฉลอง (festivity)” ขณะที่คำว่า “ฟิฏรี (Fitr)” หมายถึง “ทำให้บริสุทธิ์ (to purify)” ดังนั้น วันหยุดในวันนี้จึงเป็นสัญลักษณ์ของการทำให้บริสุทธิ์หลังจากสิ้นสุดเดือน ของการอดอาหาร ถือเป็นการสิ้นสุดเดือนรอมะฎอน (เดือน 9) และเริ่มต้นวันแรกของเดือน 10 ที่เรียกว่า “เชาวัล (Shawwal)”  ตามปฏิทินอิสลาม
อีดิลฟิฏรี จึงเป็นเทศกาลที่สำคัญเทศกาลหนึ่งของศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมทั่วโลกได้ถือศีลอดเป็นเวลานานในช่วงเดือนรอมะฎอน เป็นสิ่งที่ถือปฏิบัติกันอย่างอดทนและเคร่งครัด จนมาสิ้นสุดในวันนี้ ซึ่งถือเป็นวันเฉลิมฉลองอย่างสำคัญและยิ่งใหญ่ ชาวมุสลิมจะสวมเสื้อผ้าชุดใหม่ และเดินทางไปมัสยิด ทุกคนต่างมารวมกันเพื่อสวดภาวนาและขอบคุณต่อพระผู้เป็นเจ้า รวมทั้งบริจาคทานให้ผู้ยากจน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ขนมต่างๆ และเงิน
ในวันนี้บรรดาญาติมิตร เพื่อนสนิท จะแลกเปลี่ยนการ์ดและของขวัญกัน ในแต่ละครอบครัวก็จะมารวมกันเฉลิมฉลองเทศกาลนี้กันอย่างสนุกสนาน

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความช่วยเหลือของอัลกุรอานและการถือศีลอด



عَنْ عَبْدِ اللهِ بْنِ عَمْرٍو رَضِيَ الله عَنهُما أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : «الصِّيَامُ وَالْقُرْآنُ يَشْفَعَانِ لِلْعَبْدِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ، يَقُولُ الصِّيَامُ : أَيْ رَبِّ مَنَعْتُهُ الطَّعَامَ وَالشَّهَوَاتِ بِالنَّهَارِ، فَشَفِّعْنِي فِيهِ، وَيَقُولُ الْقُرْآنُ : مَنَعْتُهُ النَّوْمَ بِاللَّيْلِ فَشَفِّعْنِي فِيهِ»، قَالَ : «فَيُشَفَّعَانِ». (مسند الإمام أحمد رقم 6337، صحيح الجامع الصغير للألباني رقم3882 : صحيح)

ความว่า จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมรฺ อิบนุ อัล-อาศฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า การถือศีลอดและอัลกุรอานนั้นจะมาให้ความช่วยเหลือแก่บ่าวในวันกิยามะฮฺ การถือศีลอดจะพูดว่า โอ้ผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าได้สกัดกั้นเขาจากอาหารและการสนองความใคร่ในยามกลางวัน ดังนั้นได้โปรดให้ข้าช่วยเหลือเขาด้วยเถิดอัลกุรอานก็จะพูดว่า โอ้ผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าได้สกัดกั้นเขาจากการหลับนอนในยามค่ำคืน ดังนั้นได้โปรดให้ข้าช่วยเหลือเขาด้วยเถิดแล้วทั้งสองก็ได้รับอนุญาตเพื่อให้ความช่วยเหลือ  (รายงานโดย อะหฺมัด หมายเลข 6337 ดู เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ ของ อัล-อัลบานีย์ หมายเลข 3882 เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)

บทเรียนจากหะดีษ

1.      หะดีษอธิบายให้เห็นถึงความประเสริฐของการถือศีลอดและการอ่านอัลกุรอาน
2.      การ ถือศีลอดสำหรับบ่าวของอัลลอฮฺนั้น ก็เพื่อให้เขามีความอดทนจากการกิน การดื่ม และควบคุมอารมณ์ใฝ่ต่ำ เพื่อแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ
3.      การอ่าน อัลกุรอานทำให้บ่าวของอัลลอฮฺมีความอดทนจากการหลับนอนในยามค่ำคืน เพื่อใช้เวลาในการอ่านอัลกุรอาน ทำความเข้าใจเนื้อหาและท่องจำด้วยความซาบซึ้ง
4.      อัล ลอฮฺทรงอำนาจในการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่นอกเหนือกฎธรรมชาติ เช่น การที่พระองค์ทำให้การถือศีลอดและอัลกุรอานสามารถพูดกับพระองค์ได้
5.      ไม่มีผู้ใดมีอำนาจและสามารถให้ความช่วยเหลือใดๆ แก่บ่าวของพระองค์ นอกจากจะได้รับการอนุมัติจากพระองค์เท่านั้น
6.      ใช้ให้ถือศีลอดและอ่านอัลกุรอานอย่างเต็มความหมาย พร้อมกับรักษามารยาทในขณะอ่านอัลกุรอานเพื่อได้รับความช่วยเหลือในวันอาคิเราะฮฺ
7.      เวลาที่ประเสริฐที่สุดในการอ่านอัลกุรอานคือในเวลากลางคืน
8.      ใช้ให้ระลึกถึงวันอาคิเราะฮฺ และความยากลำบากระส่ำระสายในวันอาคิเราะฮฺ พร้อมกับให้เตรียมความพร้อมเพื่อเผชิญกับวันนั้น

ดุอาอ์ในคืนลัยละตุลก็อดรฺ

                                  
                           ดุอาอ์ในคืนลัยละตุลก็อดรฺ

عَنْ عَائِشَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهَا قَالَتْ : قُلْتُ : يَا رَسُولَ اللهِ، أَرَأَيْتَ إِنْ عَلِمْتُ أَيَّ لَيْلَةٍ لَيْلَةُ الْقَدْرِ، مَا أَقُولُ فِيهَا؟، قَالَ : «قُولِي اللَّهُمَّ إِنَّكَ عُفُوٌّ تُحِبُّ الْعَفْوَ فَاعْفُ عَنِّي».  (ابن ماجه رقم 3840، صحيح الجامع الصغير للألباني رقم4423)

ความว่า จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ได้ถามท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า บอกฉันเถิด ถ้าหากคืนใดฉันรู้ว่าเป็นลัยละตุล ก็อดรฺ จะให้ฉันกล่าวดุอาอ์ใด? ท่านรอซูลตอบว่า จงกล่าวว่า อัลลอฮุมมะ อินนะกะ อะฟุววุน ตุหิบบุล อัฟวะ ฟะอฺฟุ อันนี  (โอ้องค์อภิบาลแห่งข้า แท้จริงพระองค์นั้นทรงเป็นผู้อภัยยิ่ง พระองค์ทรงรักการอภัย ดังนั้นได้โปรดอภัยให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด)”  (รายงานโดย อิบนุ มาญะฮฺ หมายเลข 3840 ดู เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ ของ อัล-อัลบานีย์ หมายเลข 4423)

คำอธิบายหะดีษ

            คืน ลัยละตุลก็อดรฺเป็นคืนที่มีความประเสริฐและมีเกียรติยิ่ง ความประเสริฐของค่ำคืนนี้ยิ่งใหญ่กว่าเดือนอื่นเป็นพันเท่า บางครั้งทั้งผู้ที่เป็นชายและหญิงไม่ทราบว่าในค่ำคืนนั้นควรอ่านอะไรกันบ้าง หรือว่าไม่มีคำสอนจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม บ้างเลยหรือ? ด้วยเหตุนี้ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ขอให้ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สอนดุอาอ์ในคืนลัยละตุลก็อดรฺ เนื่องจากดุอาอ์ของท่านรอซูลนั้นเป็นดุอาอ์ที่ดีที่สุด  หาก เราสังเกตแล้ว จะเห็นว่าดุอาอ์ที่ท่านรอซูลวอนขอต่ออัลลอฮฺนั้นเป็นดุอาอ์ที่เกี่ยวข้องกับ การขออภัยต่อัลลอฮฺผู้ทรงให้อภัย ตรงนี้จะเห็นได้ว่าการขอให้อัลลอฮฺลบล้างบาปต่างๆ ให้หมดไปนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง เนื่องจากบาปนั้นเป็นสิ่งที่กีดกั้นมิให้บุคคลเข้าในสรวงสวรรค์ และเป็นเหตุต้องให้เข้านรก ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมยิ่งที่เราทุกคนควรมีการขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺใน ค่ำคืนที่ทรงประเสริฐยิ่ง หวังเพื่อจะได้เป็นผู้ที่มีความบริสุทธิ์ผุดผ่องจากบาปทั้งหลาย แท้จริงแล้วอัลลอฮฺทรงรักผู้ที่ขออภัยโทษและบริสุทธิ์จากบาปต่างๆ

บทเรียนจากหะดีษ

1.      ความกระตือรือร้นของท่านหญิงอาอิชะฮฺ ซึ่งเข้าใจถึงภาระหน้าที่ของมุสลิมและมุสลิมะฮฺ  เมื่อได้พบกับลัยละตุลก็อดรฺ
2.      มุสลิมะฮฺก็มีสิทธิที่จะได้รับความดีและความประเสริฐของค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺได้
3.      บัญญัติให้มีการขอดุอาอ์ในค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ เมื่อมีสัญญาณต่างๆ ของมันปรากฏ
4.      ดุอาอ์ในคืนลัยละตุลก็อดรฺที่ดีที่สุดคือดุอาอ์ที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สอนไว้ในหะดีษข้างต้น
5.      ดุอาอ์เพื่อขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺนั้นสำคัญกว่าดุอาอ์อื่นๆ
6.      หนึ่งในคุณลักษณะของอัลลอฮฺนั้นคือ พระองค์เป็นผู้ที่ทรงให้อภัยแก่บ่าวของพระองค์

คุณค่าของการทำอิบาดะฮฺในคืนลัยละตุลก็อดรฺ





عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : «مَنْ قَامَ لَيْلَةَ الْقَدْرِ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ».  (البخاري رقم 1768، مسلم رقم 1268)
ความว่า จากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า ผู้ ใดที่ลุกขึ้น(ละหมาดกลางคืนและประกอบอิบาดะฮฺอื่นๆ)ในคืนลัยละตุลก็อดรฺ ด้วยเปี่ยมศรัทธาและความหวังในความโปรดปรานของอัลลอฮฺ เขาจะได้รับการอภัยโทษจากความผิดบาปที่ผ่านมาของเขา   (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1768 และมุสลิม หมายเลข 1268)

คำอธิบาย

            อุละมาอ์บางท่านกล่าวว่า เหตุที่ตั้งชื่อว่าเป็นคืน อัล-ก็อดรฺ  เพราะว่าในคืนนั้นบรรดามะลาอิกะฮฺจะเขียนเกาะดัรฺ(สิ่งที่อัลลอฮฺกำหนด)ต่างๆ ไม่ว่าสิ่งที่เกี่ยวกับริสกี(ปัจจัยและโชคลาภ) รวมถึงอะญัล(อายุขัย)ของมวลมนุษย์ในปีนั้นๆ
บางท่านกล่าวว่า เนื่องจากสถานภาพและความทรงเกียรติของค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ
และบรรดาอุละมาอ์มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺจะปรากฏตลอดไปจนถึงวันกิยามะฮฺ
            ท่าน อัล-กอ ฎีย์ อิยาฎ กล่าวว่า บรรดาอุละมาอ์มีทัศนะที่ไม่สอดคล้องกันเกี่ยวกับค่ำคืน ลัยละตุลก็อดรฺ บางท่านมีทัศนะว่า ค่ำคืนดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงในเดือนเราะมะฎอน จากปีหนึ่งไปยังอีกปีหนึ่ง (หมายถึงมีการเลื่อนและไม่ตรงกันทุกปี)

บทเรียนจากหะดีษ
1.      กล่าวถึงความประเสริฐของผู้ที่ประกอบอะมัลอิบาดะฮฺในค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ
2.      ส่งเสริมให้มีการกิยาม (การละหมาดกลางคืนและการประกอบอิบาดะฮฺต่างๆ) ในค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ
3.      การปฏิบัติกิยามในค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺต้องกระทำเพื่อสนองตามคำสั่งของอัลลอฮฺเท่านั้น  และมีความเชื่อมั่นในสัญญาผลตอบแทนที่จะได้รับ และต้องปราศจากการโอ้อวดอื่นๆ
4.      ผลตอบแทนสำหรับผู้ที่ประกอบอิบาดะฮฺตรงกับคืนลัยละตุลก็อดรฺ ก็คือ จะได้รับการอภัยโทษในบาปทั้งหลายที่ผ่านมา และผลบุญอื่นๆ

ความประเสริฐของการละหมาดตะรอวีห



عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ الله عَنهُ أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : «مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ». (البخاري رقم 36، مسلم رقم 1266)

ความว่า จากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าจากท่าน รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า ผู้ ใดที่ลุกขึ้น(เพื่อละหมาดและประกอบอิบาดะฮฺ)ในคืนของเดือนเราะมะฎอน ด้วยความศรัทธาและหวังในความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ เขาจะได้รับการอภัยโทษจากความผิดบาปที่ผ่านมาของเขา (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 36 และมุสลิม หมายเลข 1266)

คำอธิบาย
            อะ มัลที่ศาสนาอิสลามส่งเสริมให้บรรดามุสลิมกระทำในเดือนเราะมะฎอน คือ การละหมาดในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็นการละหมาดตะรอวีหฺ และผลการตอบแทนในการปฏิบัตินั้นยิ่งใหญ่ไม่หย่อนไปกว่าการประกอบอิบาดะ ฮฺประเภทอื่นๆ ที่ใช้ให้ปฏิบัติในเดือนเราะมะฎอน เช่น การถือศีลอด เพราะต่างได้รับการสัญญาว่าจะได้รับการอภัยโทษในบาปที่กระทำมา           เฉก เช่นเดียวกับการตอบแทนที่ได้สัญญาแก่คนที่ปฏิบัติอะมัลอิบาดะฮฺในค่ำคืนลัย ละตุลก็อดรฺในด้านการได้รับอภัยโทษ ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับความมั่นใจของเราต่อคำสั่งของอัลลอฮฺ รวมทั้งความบริสุทธิ์ใจในการปฏิบัติอะมัลดังกล่าวด้วย
           
ส่วน หุก่มของการละหมาดตะรอวีหฺนั้น บรรดาอุละมาอ์ได้ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า เป็นสุนัตสำหรับชายและหญิง และใช้ให้ปฏิบัติทั้งในรูปแบบญะมาอะฮฺหรือในลักษณะต่างคนต่างทำ แต่การปฏิบัติในรูปแบบญะมาอะฮฺจะมีความประเสริฐมากกว่า


บทเรียนจากหะดีษ
1.      กล่าวถึงความประเสริฐของเดือนเราะมะฎอนและอิบาดะฮฺกิยามุลลัยลฺในเดือนเราะมะฎอน
2.      มีความยะกีน/มั่นใจต่อคำสั่งของอัลลอฮฺ และความบริสุทธิ์ในการประกอบอิบาดะฮฺนั้นถือว่าเป็นเงื่อนไขหลักของการได้มาซึ่งการตอบแทนจากอัลลอฮฺ (หมายถึงอัลลอฮฺจะทรงพิจารณาถึงความบริสุทธิ์ใจในการประกอบอิบาดะฮฺของบ่าว)
3.      ชี้ถึงเราะหฺมัตหรือความเมตตาของอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์จะให้อภัยต่อบาปต่างๆ ที่ผ่านมาแก่ผู้ที่ดำรงละหมาดในค่ำคืนเดือนเราะมะฎอน

การถือศีลอดเราะมะฎอนเป็นศาสนกิจภาคบังคับ


การถือศีลอดเราะมะฎอนเป็นศาสนกิจภาคบังคับ

عَنْ عَائِشَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهَا قَالَتْ : كَانَ يَوْمُ عَاشُورَاءَ تَصُومُهُ قُرَيْشٌ فِي الْجَاهِلِيَّةِ، وَكَانَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَصُومُهُ، فَلَمَّا قَدِمَ الْمَدِينَةَ صَامَهُ وَأَمَرَ بِصِيَامِهِ، فَلَمَّا فُرِضَ رَمَضَانُ تَرَكَ يَوْمَ عَاشُورَاءَ، فَمَنْ شَاءَ صَامَهُ وَمَنْ شَاءَ تَرَكَهُ. (البخاري رقم1863، مسلم رقم 1897)

ความว่า จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮา กล่าวว่า วัน อาชูรออ์(วันที่สิบของเดือนมุหัรฺร็อม) เป็นวันที่พวกกุร็อยช์ถือศีลอดกันในยุคญาฮิลียะฮฺ(ยุคก่อนอิสลาม) ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เองก็ได้ถือศีลอดในวันนั้นเช่นกันก่อนที่ท่านจะเป็นรอซูล ครั้นเมื่อท่านอพยพไปมะดีนะฮฺท่านก็ยังได้ถือศีลอดในวันนั้นอีกและได้สั่ง ให้คนอื่นๆ ถือศีลอดในวันนั้นอีกด้วย จนกระทั่งเมื่อการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนได้ถูกบัญญัติขึ้น ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม จึงได้เลิกถือศีลอดวันอาชูรออ์(หมายถึงไม่ได้เป็นศาสนกิจบังคับอีกต่อไป) ผู้ใดก็ตามที่ต้องการปฏิบัติเขาก็ถือศีลอด(ในวันอาชูรออ์)นั้น หรือผู้ใดไม่ต้องการปฏิบัติเขาก็ละทิ้งมัน(ไม่ถือศีลอดในวันอาชูรออ์)   (รายงานโดยอัล-บุคอรีย์ 1863 และมุสลิม 1897)

คำอธิบายหะดีษ   
            บรรดาอุละมาอ์มีทัศนะที่สอดคล้องกันว่าการถือศีลอดในวันอาชูรออ์นั้น (คือวันที่ 10 ของเดือนมุหัรร็อม) ปัจจุบัน ถือว่าเป็นสุนัตมิใช่วาญิบ แต่พวกเขามีทัศนะที่ขัดแย้งกันถึงหุก่มในสมัยต้นๆ ของอิสลาม ก่อนที่จะมีบัญญัติการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน
มัซ ฮับของ อบู หะนีฟะฮฺ มีความเห็นว่าหุก่มของการถือศีลอดอาชูรออ์นั้นเป็นวาญิบดังมีหลักฐานระบุว่า ท่านรอซูลได้สั่งบรรดาเศาะหาบะฮฺให้ถือศีลอด ดังนั้นเมื่อเป็นคำสั่งแล้วหุก่มจึงเป็นวาญิบ
ในมัซฮับชาฟีอีย์เห็นว่าการถือศีลอดดังกล่าวเป็นสุนัต ดังมีหลักฐานอยู่ว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า วันนี้เป็น วันอาชูรออ์ อัลลอฮฺ ไม่ได้ทรงบัญญัติให้สูเจ้าถือศีลอด  ที่ จริงแล้วบรรดาอุละมาอ์มีทัศนะที่เป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับการถือศีลอดในวันอาชู รออ์ว่าไม่เป็นวาญิบแต่เป็นสุนัตเท่านั้น (ชัรหฺ เศาะฮีหฺ มุสลิม โดย อัน-นะวะวีย์ 8/4-5)

บทเรียนจากหะดีษ
1.      การถือศีลอดในวันอาชูรออ์เป็นข้อปฏิบัติของชาวกุร็อยชฺในสมัยญาฮิลียะฮฺ
2.        อาชูรออ์คือ วันที่ 10 ของเดือนมุหัรร็อม
3.      การ ถือศีลอดในวันอาชูรออ์นั้น ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยปฏิบัติมาก่อนหน้าที่การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนจะถูกบัญญัติขึ้นมา
4.      ในช่วงต้นๆ ของการอพยพสู่มะดีนะฮฺ (ฮิจญ์เราะฮฺ) ท่านรอซูลยังถือศีลอดอาชูรออ์และยังสั่งให้บรรดาเศาะหาบะฮฺถือศีลอดอีกด้วย
5.      แต่ในปีที่ 2 ของ ปีฮิจญ์เราะฮฺ โองการเกี่ยวกับการถือศีลอดเดือนเราะมะฎอนก็ถูกประทานลงมา ดังนั้น การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนจึงถือเป็นฟัรฎูสำหรับผู้ที่มีเงื่อนไขครบถ้วน ตามที่บัญญัติแล้วจะต้องถือปฏิบัติ และการถือศีลอดอาชูรออ์จึงกลายเป็นสุนัตที่สามารถเลือกกระทำหรือเลือกไม่ กระทำก็ได้

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ฟัตวาของเชค อัล-อุษัยมีน สนับสนุนอิคติลาฟ อัล-มะฏอลิอฺ ในการดูเดือนเข้าและออกรอมาดอน

ฟัตวาของเชค อัล-อุษัยมีน
สนับสนุนอิคติลาฟ อัล-มะฏอลิอฺ
 
 
คำถาม : เราควรถือศีลอด(ในเดือนรอมาฎอน)และเลิกถือศีลอดของเราตามการเห็นฮิลา ล(จันทร์เสี้ยวของเดือนใหม่)ในซาอุดิอาระเบีย หรือเราควรจะถือศีลอดตามการเห็นฮิลาลในประเทศที่เราอาศัยอยู่?
คำตอบ : ในหมู่อุละมาอฺมีความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้แตกต่างกันออกไปมากมาย มีประมาณหกทัศนะที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีทัศนะหลักๆ อยู่สองทัศนะคือ
          ทัศนะแรก คือทุกคนควรจะดูเดือนในประเทศของตนเอง และประเทศที่มีดวงจันทร์ขึ้นในเวลาเดียวกันก็ควรจะปฏิบัติตามประเทศของตน เหตุผลนั้นก็คือว่าเวลาที่ดวงจันทร์ขึ้นนั้นแตกต่างกันออกไป แต่ละสถานที่ไม่เหมือนกัน
          ทัศนะที่สอง นั้นก็คือ การเริ่มต้นเดือนใหม่จำเป็นต้องได้รับการยืนยันในประเทศมุสลิมประเทศใด ประเทศหนึ่งเท่านั้น ถ้าในประเทศมุสลิมประเทศใดประเทศหนึ่งยืนยันการเห็นฮิลาล เมื่อนั้น ถือเป็นข้อบังคับที่มุสลิมทุกคนจะต้องใช้การเห็นเดือนนั้นกำหนดการเริ่มต้น ถือศีลอดในเดือนรอมาฎอน หรือเลิกถือศีลอด(เมื่อสิ้นเดือนแล้ว)
          ตามทัศนะที่สอง  สำหรับในช่วงเริ่มต้นเดือนรอมาฎอน ถ้ามีการยืนยันว่าเห็นฮิลาลในซาอุดิอาระเบีย ก็บังคับให้มุสลิมทุกคนในทุกส่วนของโลกถือศีลอดตาม(ซาอุดิอาระเบีย) สำหรับในช่วงเริ่มต้นเดือนเชาวาล ก็บังคับให้มุสลิมทุกคนเลิกถือศีลอดตามเช่นกัน นี่คือทัศนะที่เกือบจะเป็นการยึดถือโดยทั่วไปของผู้สังกัดมัซฮับอิมามอะ หฺมัด อิบนฺ ฮัมบาล
          อย่างไรก็ตาม ทัศนะแรกมีความถูกต้องมากกว่า เพราะพยานหลักฐานที่ปรากฏในอัล-กุรฺอาน, สุนนะฮฺ และเพราะการกิยาส(อนุมานเปรียบเทียบ) สำหรับในส่วนที่เกี่ยวกับอัล-กุรฺอานนั้น อัลลอฮ์ ตรัสว่า :
“เดือน รอมฎอนคือเดือนที่อัล-กุรฺอานถูกประทานลงมา เพื่อเป็นทางนำสำหรับมวลมนุษย์ เป็นหลักฐานอันชัดเจนให้กับทางนำนั้น และยังเป็นบรรทัดฐานสำหรับแยกแยะความจริงและความเท็จ ดังนั้น พวกเจ้าคนใดเห็น(จันทร์เสี้ยวค่ำคืนแรกของ)เดือนนั้น ให้เขาถือศีลอดในเดือนนั้น..........” (ซูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺ 185 )
          ประโยคสุดท้ายเป็นประโยคเงื่อนไข และกฎซึ่งแฝงอยู่ในประโยคเงื่อนไขนั้นได้รับการบัญญัติไว้สำหรับผู้ที่อยู่ ในเงื่อนไข และไม่มีผลบังคับสำหรับบุคคลที่ไม่เข้าข่ายตามเงื่อนไขดังกล่าว ดังนั้น ประโยคที่กล่าวว่า “พวกเจ้าคนใดเห็น(จันทร์เสี้ยวค่ำคืนแรกของ)เดือนนั้น ให้เขาถือศีลอดในเดือนนั้น” จึงมีความหมายว่า บุคคลที่มิได้มองเห็นจันทร์เสี้ยวก็มิต้องถือศีลอด
          เป็นที่รับรู้กันเป็นอย่างดีในหมู่นักดาราศาสตร์ว่า เวลาที่ดวงจันทร์ขึ้นในแต่ละสถานที่นั้นแตกต่างกัน ณ สถานที่หนึ่ง อาจมีคนมองเห็นเดือน แต่อีกสถานที่หนึ่ง อาจไม่มีคนมองเห็นเดือน เพราะฉะนั้น ตามความหมายของอายะฮฺดังกล่าว (2:185) บุคคลที่มองไม่เห็นเดือน ก็ไม่เป็นที่บังคับให้ต้องถือศีลอด
ตามสุนนะฮฺ ท่านนบี กล่าวว่า 
“ถ้า เจ้าเห็นมัน(ฮิลาลของเดือนรอมาฎอน) จงเริ่มถือศีลอด และถ้าเจ้าเห็นมันอีกครั้ง(ฮิลาลของเดือนเชาวาล) จงเลิกถือศีลอด และถ้ามีเมฆมาบดบังมิให้เจ้ามองเห็น ดังนั้น จงนับ(เดือนปัจจุบัน)ให้ครบสามสิบวัน”
          ท่านนบี กล่าวว่า “ถ้าเจ้าเห็นมัน” เท่ากับว่าท่านนบี เชื่อมโยงกฎนั้นเข้ากับการดูเดือน และถ้ากฎนั้นเชื่อมโยงกับเหตุที่เป็นจริง เมื่อนั้นกฎดังกล่าวจะไม่มีผลบังคับใช้ในกรณีที่เหตุนั้นไม่มีอยู่จริง
         หากพิจารณาในมุมมองของการกิยาส(การอนุมานเปรียบเทียบ)นั้น เมื่อเรากล่าวว่าจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่ง เวลาเริ่มถือศีลอดและเวลาละศีลอดในแต่ละวันช่างแตกต่างกันจริงๆ ในทำนองเดียวกัน เวลาที่เริ่มต้นถือศีลอดเดือนรอมาฎอน และเวลาที่เลิกถือศีลอดเดือนรอมาฎอนย่อมจะแตกต่างกันฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น ตัวอย่างเช่น เราอยู่ในริยาห์ด ทุกวันเราเริ่มถือศีลอดก่อนผู้คนในอัล-หิญาซ และเรายังละศีลอดก่อนพวกเขาเช่นกัน
         ฉะนั้น เราถูกบังคับให้ต้องเริ่มต้นถือศีลอดในขณะที่พวกเขายังคงรับประทานอาหารกัน อยู่ตามปกติ ในอีกด้านหนึ่ง ช่วงเวลาพลบค่ำเรารับประทานอาหารได้แล้ว ขณะที่พวกเขายังต้องถือศีลอดอยู่ เพราะเหตุดังกล่าว ถ้า แต่ละสถานที่มีกฎของตัวเองเนื่องจากความแตกต่างทางด้านเวลาขึ้นและเวลาตก ของดวงอาทิตย์แล้ว ในทำนองเดียวกัน แต่ละสถานที่ย่อมมีกฎของตัวเอง เนื่องจากความแตกต่างทางด้านเวลาขึ้นและเวลาตกของดวงจันทร์เช่นกัน
          เพราะ ฉะนั้น คำตอบสำหรับคำถามข้างต้นเป็นที่ชัดเจนแล้ว เป็นวายิบ(บังคับ)สำหรับท่าน ท่านจะต้องปฏิบัติตามการเห็นฮิลาลในพื้นที่ที่ท่านอาศัยอยู่
เชค อิบนฺ อุษัยมีน
อ้างอิง : อัล-อฺะกอลลียาต อัล-มุสลิมะฮฺ หน้า 84 ฟัตวาหมายเลขที่ 23

การดูเดือน : ศาสตร์แห่งการดูเดือน โดย Syed Khalid Shaukat แก้ไขโดย Qamar Uddin ศิระ นวนมี แปลไทย

        

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เหตุที่เกิดในโลกอาหรับ


 ประชาชนกำลังลุกฮือขึ้นมาโค่นล้มเหล่าผู้นำ อียิปต์และตูนิเซีย ไปจนถึงจอร์แดน, เยเมน, และไกลโพ้นไปจากนั้น พวกเขาไม่ได้ถูกขับเคลื่อนด้วยแรงจูงใจทางอุดมการณ์หรือทางศาสนาใดๆ ทั้งนั้น มีเพียงช่องว่างช่วงห่างทางด้านความมั่งคั่ง และความแตกต่างทางด้านวัย ซึ่งพวกผู้ปกครองที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนของพวกเขามากกว่า ย่อมจะสามารถลดทอนให้หดแคบและเข้าใกล้ให้มากขึ้นได้ ปัจจัยร่วมอีกประการหนึ่งที่เรียงร้อยตัวโดมิโนที่กำลังล้มครืนลงมาเหล่านี้ เข้าไว้ด้วยกัน ก็คือทุกๆ รายต่างได้รับความสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาอย่างทั่วหน้า ทว่าความผูกพันโยงใยเช่นนี้กำลังถูกพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่ได้เป็นประโยชน์ อะไรต่อเหล่าจอมเผด็จการ หรือต่อกลุ่มนักเลงอันธพาลติดอาวุธของพวกเขา
      
       ดามัสกัสในเวลาไม่ถึงเดือน มีผู้นำชาติอาหรับ 4 คนได้เรียงหน้ากันก้าวออกมาแถลงให้คำมั่นสัญญาว่า พวกเขาจะไม่ลงเลือกตั้งต่ออีกแล้ว เมื่อวาระการดำรงตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญของพวกเขาสิ้นสุดลง
      
       คนแรกคือ ซิเน เอล อาบิดิเน เบน อาลี (Zine el-Abidine Ben Ali) แห่งตูนิเซีย ผู้พยายามทำการต่อสู้ในสมรภูมิแห่งความพ่ายแพ้กับพวกเยาวชนคนหนุ่มสาวชาว ตูนิเซียผู้โกรธเกรี้ยว แล้วก็ต้องลงจากอำนาจไปในวันที่ 14 มกราคม เพียงแค่ 24 ชั่วโมงหลังจากกล่าวคำปราศรัย ผมเข้าใจพวกคุณที่เวลานี้มีชื่อเสียงฉาวโฉ่ของเขาแล้ว เบน อาลี ผู้อยู่ในวัย 74 ปี ได้ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 1987 และแต่เดิมมีกำหนดจะลงเลือกตั้งอีกสมัยหนึ่งในปี 2014
      
       ถัดจากนั้นก็เป็นประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค (Hosni Mubarak) แห่งอียิปต์ ซึ่งชราและสุขภาพย่ำแย่ในวัย 83 ปี ภายหลังเผชิญกับการก่อการแข็งข้อทำนองเดียวกัน มูบารัคก็ประกาศว่าเขาจะไม่ขอรับการเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดีเป็น สมัยที่ 6 เมื่อวาระการดำรงตำแหน่งสมัยปัจจุบันของเขาสิ้นสุดลงในเดือนกันยายน
      
       มูบารัคได้ปลดคณะรัฐบาลของ อาหมัด นัซซิฟ (Ahmad Nazzif), สัญญาที่จะให้เสรีภาพเพิ่มมากขึ้น, และประกาศว่าเขาจะไม่มีการยกอำนาจให้ กามัล (Gamal) บุตรชายของเขาที่อยู่ในวัย 50 ปีและเป็นนักธุรกิจทรงอิทธิพล รับทอดสืบต่อ ภายหลังที่ได้ยึดครองอำนาจอย่างเหนียวแน่นและเด็ดขาดมาตั้งแต่ปี 1981 การที่มูบารัคเพิ่งจะมาคิดดำเนินการ ปฏิรูปอะไรต่ออะไร ก็ดูจะน้อยเกินไปและล่าช้าเกินไปเสียแล้วสำหรับประชาชนชาวอียิปต์ผู้โกรธ แค้น (ในที่สุด มูบารัคก็ต้อง สละตำแหน่งไปในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ -ผู้แปล)
      
       จากนั้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ อาลี อับดุลเลาะห์ ซาเละห์ (Ali Abdullah Saleh) ประธานาธิบดีเยเมนวัย 69 ปี ก็ประกาศว่าเขาจะก้าวลงจากตำแหน่งในปี 2013 และเขาจะไม่ยกอำนาจให้แก่ อาหมัด ซาเละห์ (Ahmad Saleh) บุตรชายของเขา ทั้งนี้เขาครองอำนาจมาเป็นเวลา 33 ปีแล้วนับตั้งแต่ปี 1978
      
       และคนสุดท้าย นายกรัฐมนตรี นูริ อัล มาลิกิ (Nuri al-Maliki) แห่งอิรัก ที่มีอายุ 61 ปี ได้ออกมาแถลงว่าเขาจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งอีก เมื่อชาวอิรักไปลงหย่อนบัตรลงคะแนนครั้งต่อไปในปี 2014
      
       ขณะที่เหตุการณ์ทั้งหมดดังที่กล่าวนี้ทยอยบังเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา ไม่ถึงเดือนนั่นเอง พลังตามท้องถนนในโลกอาหรับยังส่งผลทำให้รัฐบาลในอีก 2 ประเทศต้องล้มคว่ำไปด้วย นั่นคือ รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ซามีร์ อัล ริไฟอิ (Samir al-Rifaii) แห่งจอร์แดน และของนายกฯ ซออัด อัล ฮาริรี (Saad al-Hariri) แห่งเลบานอน
      
       อะไรบางอย่างกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในโลกอาหรับ รวดเร็วมากๆ และบางทีอาจจะรวดเร็วเกินกว่าที่พวกจอมเผด็จการซึ่งแก่เฒ่าและเจ็บออดๆ แอดๆ จะสามารถเข้าใจหยั่งรู้ ทั้งนี้ผู้ที่ก่อการลุกฮือต่อต้านและโค่นล้มระบอบปกครองของพวกเขา (หรือบังคับให้พวกเขาต้องดำเนินการปฏิรูปอย่างเอาจริงเอาจัง) ก็คือบรรดาคนหนุ่มคนสาวทั้งหลาย ที่ส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 25 ปี
      
       ในกรุงตูนิส เบน อาลี ได้พยายามที่จะขับไล่ปราบปรามคนหนุ่มคนสาวเหล่านีโดยใช้กำลัง และจากนั้นก็กวาดล้างจับกุมพวกเขาไปเป็นจำนวนมาก ส่วนในอียิปต์ มูบารัคส่งกลุ่มนักเลงอันธพาลของเขาเข้าทุบตีผู้ประท้วงวัยหนุ่มสาวด้วยไม้ กระบองและฟันพวกเขาด้วยดาบ เมื่อการกระทำเช่นนี้ไม่ได้ผล ตำรวจก็ได้รับคำสั่งให้เปิดฉากยิงใส่ แต่นั่นก็เช่นกันไม่สามารถที่จะทำลายความเด็ดเดี่ยวแน่วแน่อย่างชนิดไม่มี อะไรหยุดยั้งได้ของพวกเขา หรือทำให้ความปรารถนาออย่างแรงกล้าที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของพวกเขา ต้องอ่อนแรงลงไป
      
       ช่องว่างช่วงห่างทางอายุที่น้อยที่สุดระหว่างพวกเขากับเหล่าผู้นำของ พวกเขาก็คือในอิรัก กระนั้นก็ยังเป็นผลต่างที่สูงกว่า 35 ปี สำหรับในอียิปต์ มูบารัคแก่ชราขนาดเป็นคุณปู่คุณตาของผู้ชุมนุมประท้วงที่กริ้วโกรธแทบทุกคน ในจัตุรัสตอห์รีร์ (Tahrir Square) ในกรุงไคโร และเป็นที่ชัดเจนว่าพวกเขาสุดเซ็งสุดระอาใจที่จะต้องรับมือกับเขา
      
       มูบารัคเปิดปากหล่นถ้อยคำที่คนหนุ่มคนสาวไม่ต้องการได้ยินได้ฟังอีก ต่อไปแล้ว ขณะเดียวกันพวกเขาก็พูดจาด้วยภาษาที่เขาไม่สามารถเข้าใจได้ แล้วยังมีสิ่งที่ตามกระหน่ำซ้ำเติม เป็นต้นว่ารายงานของสื่อหลายกระแสที่ว่า มูบารัคมีทรัพย์สมบัติเป็นมูลค่าถึง 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งต้องถือเป็นตัวเลขที่โด่งทะลุฟ้าสำหรับประเทศที่ผู้คนหลายล้านคนมีราย ได้วันละไม่ถึง 2 ดอลลาร์ ตลอดระยะเวลา 3 ทศวรรษที่ผ่านมา ระบอบปกครองของมูบารัคได้รับเงินช่วยเหลือจากสหรัฐฯราวๆ 30,000 ล้านดอลลาร์ ทว่ากลับไม่มีเศษเงินสักเล็กสักน้อยเลยที่เผื่อแผ่มาถึงกระเป๋าของสามัญชน ชาวอียิปต์ คงไหลเวียนกันอยู่แต่ในหมู่ชนชั้นปกครองที่แวดล้อมประธานาธิบดีผู้นี้เท่า นั้น
      
       คนหนุ่มคนสาวที่ออกมาชุมนุมประท้วงเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วยังไม่ได้ แต่งงาน ไม่มีภรรยาและลูกให้คอยห่วงใย และทุกคนต่างเหม็นเบื่อสุดเซ็งกับการทุจริตคอร์รัปชั่น, ความยากจน, การเล่นพรรคเล่นพวก, และการเพิกเฉยไม่แยแสอย่างสิ้นเชิงต่อเสียงเรียกร้องซ้ำๆ ซากๆ ของพวกเขา
      
       น่าสังเกตว่าทั้งในอียิปต์และตูนิเซีย พวกผู้ชุมนุมประท้วงไม่ได้มีผู้นำเดี่ยวโดดเด่นให้พวกเขาคอยเดินตามแต่อย่าง ไร ไม่เหมือนกับในกรณีของการปฏิวัติส่วนใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นในโลก ไม่มีบุคคลอย่างวลาดิมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) ในกรณีของรัสเซีย ไม่มีบุคคลอย่าง รูโฮลเลาะห์ โคไมนี (Ruhollah Khomeini) ของอิหร่าน หรือกระทั่งบุคคลอย่าง กามัล อับเดล นัสเซอร์ (Gamal Abdel Nasser) แห่งอียิปต์ยุคทศวรรษ 1950 เป็นผู้นำพาหนุ่มสาวชาวอาหรับเหล่านี้
      
       นอกจากนั้นยังไม่มีแรงขับดันทางอุดมการณ์หรือทางศาสนาใดๆ อีกด้วย การลุกฮือคราวนี้ไม่ใช่การปฏิวัติอิสลาม หรือการปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ ไม่ใช่ทั้งการปฏิวัติมาร์กซิสต์ หรือการปฏิวัติทุนนิยม เราไม่เห็นพวกนักการศาสนาสวมผ้าโพกศีรษะกำลังพยายามโค่นกษัตริย์ชราและเผด็จ การ เหมือนกรณีที่เกิดขึ้นในอิหร่านเมื่อปี 1979 และเราไม่พบพวกนายทหารหนุ่มหรูหรามากสีสันกำลังพยายามโค่นกษัตริย์หนุ่มที่ หรูหรามากสีสันพอๆ กัน อย่างที่เกิดขึ้นในอียิปต์ในปี 1952
      
       นอกจากนั้นแล้ว เรายังไม่พบขบวนรถถังอเมริกันแล่นทะยานพุ่งเข้าไปในเมืองหลวงต่างๆ ของชาติอาหรับ โค่นล้มผู้เผด็จการซึ่งแท้ที่จริงแล้ววอชิงตันเองนั่นแหละได้อุปถัมภ์ชุบ เลี้ยงมานมนานหลายปี เหมือนกับกรณีที่เกิดขึ้นในอิรักเมื่อปี 2003
      
       ดูเหมือนว่าไม่มีหนังสือหนังหาที่สร้างแรงบันดาลใจหรือที่ทรง อิทธิพลอย่างพิเศษ ซึ่งพวกผู้ประท้วงเหล่านี้กำลังอ่านกันอยู่ เมื่อตอนที่พวกเขาตัดสินใจที่จะลุกขึ้นยืนท้าทายจอมเผด็จการ นอกจากนั้นก็ไม่ได้มีคำประกาศแถลงการณ์ลับใดๆ, ไม่มีโรงพิมพ์ลับที่แอบซ่อนอยู่ในห้องใต้ดินคอยตีพิมพ์หนังสือเล่มเล็กๆ ชี้นำการต่อสู้, และก็ไม่มีคำปราศรัยอันดุเดือดเผ็ดร้อนให้ได้ยินกันทางสถานีวิทยุหรือสถานี ทีวีของพรรคฝ่ายค้าน สิ่งที่จุดชนวนให้แก่การลุกฮือขึ้นมาเหล่านี้ก็คือ ข้อความที่ส่งกันทางเอสเอ็มเอส, ข้อความทางทวีตเตอร์ และทางกลุ่มต่างๆ ในเฟสบุ๊ก ข้อความในโลกเสมือนจริงทั้งหมดเหล่านี้ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อที่ในเวลาอีกไม่นานก็จะถูกลบ ทิ้งไป หรือถูกปล่อยจมปลักอยู่ในซอกหลืบที่ถูกหลงลืมในโลกออนไลน์
      
       โลกอาหรับอย่างที่เราๆ ท่านๆ ทั้งหลายรู้จักกัน โลกที่ประชาชนถูกกดขี่บังคับให้ต้องยึดมั่นปฏิบัติตามระบอบเผด็จการรวบอำนาจ อย่างมืดบอดนั้น ได้จบสิ้นลงไปแล้ว และมันก็ไม่มีท่าทีว่ากำลังจะกลับมาได้อีก ในช่วงเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา ผู้คน 3 ชั่วอายุคนทีเดียวเติบโตขึ้นมาด้วยความเชื่อที่ว่า พวกเขาไม่มีทางเลยที่จะเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงอันน่าสลดหดหู่ของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ว่า ระบอบปกครองในประเทศของพวกเขาเหล่านี้สามารถที่จะก้าวขึ้นสู่อำนาจและประคับ ประคองรักษาอำนาจเอาไว้ได้ ก็เนื่องจากได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา
      
       ปัจจัยเรื่องสหรัฐฯนี้ เป็นลักษณะร่วมที่เชื่อมโยงมูบารัค, ฮาริรี, เบน อาลี, มาลิกิ, และ ซาเละห์ เข้าด้วยกัน พวกเขาทั้งหมดต่างก็ได้กระทำตัวเองให้มีประโยชน์แก่คณะรัฐบาลสหรัฐฯชุดแล้ว ชุดเล่า ไม่ว่าจะเป็นการต่อสู้กับลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุคสงครามเย็น, การต่อสู้กับลัทธิโคไมนีภายหลังการปฏิวัติอิหร่านปี 1979, และการต่อสู้กับลัทธิอิสลามเคร่งจารีตภายหลังเหตุการณ์ 11 กันยายน 2001
      
       พวกเขาทั้งหมดต่างแสดงจุดยืนซึ่งไม่เป็นที่นิยมชมชื่นอย่างยิ่งของ ประชาชนของพวกเขาเอง ในการคัดค้านขัดขวางกลุ่มต่อต้านที่แสนจะเป็นที่นิยมชนชื่นในปาเลสไตน์และใน เลบานอน และจุดยืนของพวกเขาก็ถูกถ่ายทอดเข้าไปในบ้านเรือนชาวอาหรับทุกหนทุกแห่งโดย ผ่านสถานีโทรทัศน์ภาษาอาหรับ อย่างเช่น อัลญะซีเราะห์ (al-Jazeera) สืบเนื่องจากลักษณะร่วมกันเหล่านี้เอง ผู้นำเหล่านี้ทั้งหมดจึงต้องเผชิญกับชะตากรรมคล้ายคลึงกันในเดือนมกราคมแห่ง การตัดสินชี้ชะตาของปี 2011
      
       บางทีอาจจะมีประเทศที่ถือเป็นกรณียกเว้นอยู่เพียงประเทศเดียว นั่นคือ ซีเรีย เมื่อต้นเดือนนี้ มีกลุ่มนักเคลื่อนไหวไม่ประกาศชื่อกลุ่มหนึ่ง พยายามอาศัยเฟสบุ๊กเพื่อเรียกร้องให้ผู้คนออกมาชุมนุมประท้วงในวันแห่งความโกรธแค้นในกรุงดามัสกัส เฉกเช่นเดียวกับที่มีกลุ่มเคลื่อนไหวจัดกันขึ้นทั้งในตูนิเซีย, จอร์แดน, และอียิปต์ พวกนักหนังสือพิมพ์ชาติตะวันตกหลายต่อหลายคนทีเดียว รีบบินเข้ามาในซีเรียเพื่อคอยเฝ้าชมละครอันน่าตื่นเต้นที่ประชาชนช่วยกันโค่นล้มรัฐบาลของพวกเขา
      
       ทว่าพวกเขากลับต้องประสบกับความเซอร์ไพรซ์ครั้งใหญ่ ตลอดทั่วทั้งซีเรียไม่ได้มีการชุมนุมเดินขบวนอะไรกันเลย บางผู้คนในโลกตะวันตกคาดหมายเอาไว้ว่าพวกผู้ชุมนุมจะปรากฏตัวขึ้นตามท้องถนน และปะทะกับกองกำลังความมั่นคงของซีเรีย ทว่าเหตุการณ์เช่นนี้มิได้บังเกิดขึ้น และเหตุผลของเรื่องนี้ก็มีหลายอย่างหลายประการ
      
       ประการหนึ่งคือ ไม่เหมือนกับ มูบารัค หรือ เบน อาลี ประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด (Bashar al-Assad) ของซีเรีย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวัย 44 ปี เป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมชมชอบอย่างสูงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนหนุ่มคนสาว คนหนุ่มสาวชาวซีเรียจึงไม่เหมือนกับคนหนุ่มสาวชาวตูนิเซียหรือชาวอียิปต์ พวกเขาไว้เนื้อเชื่อใจในประธานาธิบดีของพวกเขา และมองเขาว่าเป็นคนหนึ่งในหมู่พวกเขา เป็นคนหนึ่งที่ทำงานอย่างหนักมาตลอด 10 ปีที่ผ่านมาเพื่อยกระดับรายได้ของพวกเขา, จัดหาตำแหน่งงานใหม่ๆ ให้แก่พวกเขา, และสร้างสังคมที่ดีงามลึกซึ้งยิ่งขึ้น ถึงแม้จะมีสหรัฐอเมริกาคอยหาเรื่องสร้างอุปสรรคนานาเพื่อขัดขวางการทำงานของ เขาก็ตามที
      
       พูดกันอย่างย่นย่อ อัสซาดเป็นบุคคลที่อยู่เบื้องหลังมหาวิทยาลัยภาคเอกชนและธนาคารภาคเอกชน ซึ่งได้ส่งผลทำให้เกิดการปรับขึ้นค่าจ้างและหว่านเมล็ดพันธุ์ชนชั้นกลางที่ เวลานี้กำลังก้าวผงาดขึ้นมาของซีเรีย, ความรุ่งเรืองเฟื่องฟูของการกีฬา, อินเทอร์เน็ต, สื่อมวลชนภาคเอกชน, และองค์กรนอกภาครัฐบาลที่ขับดันโดยภาคสังคม
      
       ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลของเขาจัดตั้งกองทุนขึ้นมาเพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ครอบ ครัวที่ยากจนข้นแค้น 450,000 ครอบครัว และเขาได้ทำให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างรวมกันแล้วมากกว่า 100% ในรอบ 1 ทศวรรษที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น ขณะที่มูบารัคใช้ชีวิตอยู่เบื้องหลังแนวกำแพงสูงลิ่วของวังของเขาในกรุงไคโร อัสซาดกลับเป็นประธานาธิบดีที่ประชาชนเข้าถึงได้อย่างง่ายดาย โดยบ่อยครั้งมักเห็นเขาปะปนอยู่ในหมู่สามัญชนชาวซีเรีย, รับประทานอาหารค่ำกับภรรยาและลูกๆ ของเขา, ขับรถด้วยตัวเองไปรอบๆ เมือง, ปรากฏตัวไปชมการแสดงละครและนิทรรศการต่างๆ
      
       เขาพบปะกับผู้คนจากทุกชนชั้นทุกอาชีพแทบจะเป็นประจำทุกวัน รับฟังความคิดเห็นของพวกเขา และคอยติดตามเพื่อทำให้ความวิตกกังวลของพวกเขาได้รับการแก้ไขคลี่คลายโดยรวด เร็ว จุดยืนของเขาต่อกลุ่มฮามาส ในดินแดนฉนวนกาซา และต่อกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ ในเลบานอน ทำให้เขาได้รับความนิยมอย่างมหาศาลจากประชาชนคนเดินถนนชาวซีเรีย และยิ่งได้รับการเสริมส่งมากขึ้นอีกจากข้อเท็จจริงที่ว่า เขาปฏิเสธไม่ยอมค้อมหัวแม้เผชิญแรงกดดันจากสหรัฐฯ ในระหว่างช่วงปีอันยากลำบากแห่งยุค จอร์จ ดับเบิลยู บุช ครองทำเนียบขาว
      
       by    ซามี โมวบายเอด เป็นนักวิเคราะห์การเมือง และศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยชาวซีเรีย เขายังเป็นบรรณาธิการใหญ่ของนิตยสาร ฟอร์เวิร์ด แมกกาซีน (Forward Magazine)

วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Islamic Bank of Thailand
นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ
กรรมการผู้จัดการ
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
‚โอ้ลูกรัก ถ้าหากเจ้าสามารถที่จะตื่นขึ้นมาในเวลาเช้าจนถึงเวลาเย็น โดยที่เจ้าไม่คิดร้ายต่อผู้ใด เจ้าจงกระทาเถิด หลังจากนั้นท่านได้กล่าวแก่ฉันอีกว่า โอ้ลูกรัก และนั่นแหละเป็นแนวทางของฉัน ผู้ใดฟื้นฟูแนวทางของฉันแสดงว่าเขารักฉัน และผู้ใดรักฉัน เขาจะได้อยู่กับฉันในสวรรค์‛
(บันทึกโดย อัลติรมีษี)
Importance of Purifying the Source of Income in Islam
ร่างกายของมนุษย์ที่ได้รับการหล่อเลี้ยงจากสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ และขัดต่อหลักการของอิสลาม เขาผู้นั้นจะต้องตกนรกหมกไหม้
ในวันพิพากษาเขาจะถูกปล่อยให้ทนทุกข์ทรมานจนกว่าเขาจะถูกเรียกมาถามถึงแหล่งที่มาของรายได้ของเขาว่าถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ และเขาใช้ไปในหนทางที่ถูกต้องหรือไม่
การทำร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ ตามคำสั่งสอนของท่านศาสดามูฮัมมัด เป็นการแสดงออกถึงความศรัทธาต่ออัลเลาะฮ์
Introduction
ธนาคารอิสลามให้บริการทางการเงินแก่ลูกค้าโดยไม่มีริบา (ดอกเบี้ย)
อิสลามห้ามมุสลิมเข้าไปเกี่ยวข้องกับ ริบา (ดอกเบี้ยคือ ริบา)
จากข้อห้ามดังกล่าวทำให้ระบบงานของธนาคารตามระบบอิสลามแตกต่างจากระบบของธนาคารพาณิชย์ทั่วไป
ธนาคารอิสลามเป็นระบบธนาคารอีกระบบหนึ่งที่อยู่ภายใต้กรอบของหลักชะรีอะฮ์ ที่ดำเนินตามแนวทาง เศรษฐศาสตร์อิสลาม
หลักชะรีอะฮ์ ห้ามการเข้ายุ่งเกี่ยวกับริบาหรือดอกเบี้ยทั้งรับและจ่าย
นโยบายการทำธุรกิจของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย
หลักการในการทาธุรกิจของธนาคารแบ่งออกเป็น ๒ หลักการใหญ่คือ
หลักการที่ ๑
ดาเนินธุรกิจภายใต้หลักชะรีอะฮ์อย่างเคร่งครัด
ห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องกับดอกเบี้ย (riba) และความไม่แน่นอนหรือความผันผวน (qharah)
ห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องกับธุรกรรมหรือบริการที่ขัดต่อหลักชะรีอะฮ์ (haram business, haram products & services)
หลักการอันที่ ๒
Profitability with Ethics เน้นการสร้างกาไรแบบมีคุณธรรม
Safety มีความปลอดภัยในการทาธุรกิจ
Part I
ความหมายของคำบางคำที่ควรรู้
คำศัพท์ที่ใช้ในการศึกษาอิสลาม
๑.อัลกุรอาน (Qura๏an)
๒.ซุนนะฮ์
คำศัพท์ที่ใช้อ้างอิงถึงในการเข้าใจอิสลาม(Sunnah)
๓.ฮะดีษ
(Hadith)
หมายเหตุ
: ซุนนะฮ์ หมายถึงซุนนะฮ์ของท่านนบีมูฮัมมัดเท่านั้น
อัลกุรอาน
(Al-Qura’an)
อัลกุรอาน หรือคัมภีร์กุรอาน
อัลกุรอาน เป็นชื่อคัมภีร์ของศาสนาอิสลาม อัลเลาะฮ์ (ซ.ล.) ทรงประทานอัลกุรอานให้แก่ศาสดามูฮัมมัดโดยผ่านเทวทูตเพื่อให้ศาสดามูฮัมมัดประกาศแก่มนุษย์ทั่วโลก
อัลกุรอานถูกประทานครั้งแรกในคืน อัลก็อดริ คืนอันจำเริญ ซึ่งเป็นคืนหนึ่งในเดือนรอมฎอน เดือนที่ ๙ ของปฏิทินอิสลาม
อัลกุรอาน
(Al-Qura๏an)
อัลกุรอานเป็นคำตรัสของอัลเลาะฮ์ เป็นทางนำอันเที่ยงตรง ไม่มีความเท็จใดๆ ในอัลกุรอานไม่มีการแก้ไข ต่อเติม หรือเปลี่ยนแปลง นับจาก อัลเลาะฮ์ได้ประทานลงมา และไม่มีข้อความใดในอัลกุรอานที่ขัดแย้งกัน แต่จะมีข้อความ ที่อธิบายซึ่งกันและกัน
อัลกุรอาน เป็นภาษาอาหรับแบ่งออกเป็น ๓๐ยุซ มี ๑๑๔ บทหรือซูเราะฮ์ แบ่งออกเป็น ๖,๒๓๖ โองการหรืออายะฮ์
อัลกุรอาน
(Al-Qura๏an)
อัลกุรอาน บอกทุกสิ่งทุกอย่างในการดำเนินชีวิต ตั้งแต่การเคารพภักดีต่อ อัลเลาะฮ์เพียงองค์เดียว การปฏิบัติต่อพ่อแม่ การปฏิบัติต่อคนอื่น การทำความดีและห้ามปรามการทำความชั่ว จรรยามารยาท การศึกษา ความอดทน การอาชีพ การเศรษฐกิจ การปกครอง การแต่งงาน การแบ่งมรดก การชำระหนี้ ประวัติศาสตร์ประชาชาติในอดีต และบอกเรื่องราวในอนาคต ฯลฯ
มุสลิมทุกคนต้องอ่านอัลกุรอานให้ได้และต้องอ่านเป็นประจำ รวมทั้งต้องศึกษา ให้เข้าใจความหมาย เพื่อที่จะได้เข้าใจในบัญชาของอัลเลาะฮ์ได้อย่างถูกต้อง และเมื่อได้ยินเสียงอ่านอัลกุรอานทุกคนต้องเงียบ ตั้งใจฟังคำตรัสของอัลเลาะฮ์ เพื่อที่จะได้รับความเมตตาจากอัลเลาะฮ์เพิ่มขึ้น
อัลกุรอานเป็นธรรมนูญแห่งชีวิตมุสลิม
อัลกุรอานถูกประทานลงมายังศาสดามูฮัมมัด เป็นระยะๆ ทั้งที่เมืองมักกะฮ์และเมืองมะดีนะฮ์ รวมระยะเวลา ๒๓ ปี ตั้งแต่ศาสดามูฮัมมัดมีอายุ ๔๐ ปี จนถึงอายุ ๖๓ ปี
ฟัตวา Fatwa คือคาวินิจฉัยภายใต้หลักชะรีอะฮ์ของคณะกรรมการชะรีอะฮ์ หรือนักวิชาการอิสลามที่เป็นที่ยอมรับ
คำที่ควรรู้ในการศึกษาอิสลาม
Liquidity มีสภาพคล่องที่ดี