วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

อีดิลฟิฏรี (Eid-ul-Fitr) วันเฉลิมฉลองการออกศีลอดของชาวมุสลิม

               
          วันเฉลิมฉลองการออกศีลอดของชาวมุสลิม ที่เรียกว่า อีดิลฟิฏรี (Eid-ul-Fitr) หรือมักเรียกสั้นๆ ว่า อีด (Eid) ถือเป็นการสิ้นสุดเทศกาลถือศีลอด รอมะฎอน (Ramadan) ในช่วงเดือนที่ผ่านมา

“อีด (Eid)” เป็นคำที่มาจากภาษาอารบิก ที่แปลว่า “การเฉลิมฉลอง (festivity)” ขณะที่คำว่า “ฟิฏรี (Fitr)” หมายถึง “ทำให้บริสุทธิ์ (to purify)” ดังนั้น วันหยุดในวันนี้จึงเป็นสัญลักษณ์ของการทำให้บริสุทธิ์หลังจากสิ้นสุดเดือน ของการอดอาหาร ถือเป็นการสิ้นสุดเดือนรอมะฎอน (เดือน 9) และเริ่มต้นวันแรกของเดือน 10 ที่เรียกว่า “เชาวัล (Shawwal)”  ตามปฏิทินอิสลาม
อีดิลฟิฏรี จึงเป็นเทศกาลที่สำคัญเทศกาลหนึ่งของศาสนาอิสลาม ชาวมุสลิมทั่วโลกได้ถือศีลอดเป็นเวลานานในช่วงเดือนรอมะฎอน เป็นสิ่งที่ถือปฏิบัติกันอย่างอดทนและเคร่งครัด จนมาสิ้นสุดในวันนี้ ซึ่งถือเป็นวันเฉลิมฉลองอย่างสำคัญและยิ่งใหญ่ ชาวมุสลิมจะสวมเสื้อผ้าชุดใหม่ และเดินทางไปมัสยิด ทุกคนต่างมารวมกันเพื่อสวดภาวนาและขอบคุณต่อพระผู้เป็นเจ้า รวมทั้งบริจาคทานให้ผู้ยากจน ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ขนมต่างๆ และเงิน
ในวันนี้บรรดาญาติมิตร เพื่อนสนิท จะแลกเปลี่ยนการ์ดและของขวัญกัน ในแต่ละครอบครัวก็จะมารวมกันเฉลิมฉลองเทศกาลนี้กันอย่างสนุกสนาน

วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ความช่วยเหลือของอัลกุรอานและการถือศีลอด



عَنْ عَبْدِ اللهِ بْنِ عَمْرٍو رَضِيَ الله عَنهُما أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : «الصِّيَامُ وَالْقُرْآنُ يَشْفَعَانِ لِلْعَبْدِ يَوْمَ الْقِيَامَةِ، يَقُولُ الصِّيَامُ : أَيْ رَبِّ مَنَعْتُهُ الطَّعَامَ وَالشَّهَوَاتِ بِالنَّهَارِ، فَشَفِّعْنِي فِيهِ، وَيَقُولُ الْقُرْآنُ : مَنَعْتُهُ النَّوْمَ بِاللَّيْلِ فَشَفِّعْنِي فِيهِ»، قَالَ : «فَيُشَفَّعَانِ». (مسند الإمام أحمد رقم 6337، صحيح الجامع الصغير للألباني رقم3882 : صحيح)

ความว่า จากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัมรฺ อิบนุ อัล-อาศฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า การถือศีลอดและอัลกุรอานนั้นจะมาให้ความช่วยเหลือแก่บ่าวในวันกิยามะฮฺ การถือศีลอดจะพูดว่า โอ้ผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าได้สกัดกั้นเขาจากอาหารและการสนองความใคร่ในยามกลางวัน ดังนั้นได้โปรดให้ข้าช่วยเหลือเขาด้วยเถิดอัลกุรอานก็จะพูดว่า โอ้ผู้อภิบาลแห่งข้า ข้าได้สกัดกั้นเขาจากการหลับนอนในยามค่ำคืน ดังนั้นได้โปรดให้ข้าช่วยเหลือเขาด้วยเถิดแล้วทั้งสองก็ได้รับอนุญาตเพื่อให้ความช่วยเหลือ  (รายงานโดย อะหฺมัด หมายเลข 6337 ดู เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ ของ อัล-อัลบานีย์ หมายเลข 3882 เป็นหะดีษเศาะฮีหฺ)

บทเรียนจากหะดีษ

1.      หะดีษอธิบายให้เห็นถึงความประเสริฐของการถือศีลอดและการอ่านอัลกุรอาน
2.      การ ถือศีลอดสำหรับบ่าวของอัลลอฮฺนั้น ก็เพื่อให้เขามีความอดทนจากการกิน การดื่ม และควบคุมอารมณ์ใฝ่ต่ำ เพื่อแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ
3.      การอ่าน อัลกุรอานทำให้บ่าวของอัลลอฮฺมีความอดทนจากการหลับนอนในยามค่ำคืน เพื่อใช้เวลาในการอ่านอัลกุรอาน ทำความเข้าใจเนื้อหาและท่องจำด้วยความซาบซึ้ง
4.      อัล ลอฮฺทรงอำนาจในการเปลี่ยนแปลงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่นอกเหนือกฎธรรมชาติ เช่น การที่พระองค์ทำให้การถือศีลอดและอัลกุรอานสามารถพูดกับพระองค์ได้
5.      ไม่มีผู้ใดมีอำนาจและสามารถให้ความช่วยเหลือใดๆ แก่บ่าวของพระองค์ นอกจากจะได้รับการอนุมัติจากพระองค์เท่านั้น
6.      ใช้ให้ถือศีลอดและอ่านอัลกุรอานอย่างเต็มความหมาย พร้อมกับรักษามารยาทในขณะอ่านอัลกุรอานเพื่อได้รับความช่วยเหลือในวันอาคิเราะฮฺ
7.      เวลาที่ประเสริฐที่สุดในการอ่านอัลกุรอานคือในเวลากลางคืน
8.      ใช้ให้ระลึกถึงวันอาคิเราะฮฺ และความยากลำบากระส่ำระสายในวันอาคิเราะฮฺ พร้อมกับให้เตรียมความพร้อมเพื่อเผชิญกับวันนั้น

ดุอาอ์ในคืนลัยละตุลก็อดรฺ

                                  
                           ดุอาอ์ในคืนลัยละตุลก็อดรฺ

عَنْ عَائِشَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهَا قَالَتْ : قُلْتُ : يَا رَسُولَ اللهِ، أَرَأَيْتَ إِنْ عَلِمْتُ أَيَّ لَيْلَةٍ لَيْلَةُ الْقَدْرِ، مَا أَقُولُ فِيهَا؟، قَالَ : «قُولِي اللَّهُمَّ إِنَّكَ عُفُوٌّ تُحِبُّ الْعَفْوَ فَاعْفُ عَنِّي».  (ابن ماجه رقم 3840، صحيح الجامع الصغير للألباني رقم4423)

ความว่า จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮา ได้ถามท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า บอกฉันเถิด ถ้าหากคืนใดฉันรู้ว่าเป็นลัยละตุล ก็อดรฺ จะให้ฉันกล่าวดุอาอ์ใด? ท่านรอซูลตอบว่า จงกล่าวว่า อัลลอฮุมมะ อินนะกะ อะฟุววุน ตุหิบบุล อัฟวะ ฟะอฺฟุ อันนี  (โอ้องค์อภิบาลแห่งข้า แท้จริงพระองค์นั้นทรงเป็นผู้อภัยยิ่ง พระองค์ทรงรักการอภัย ดังนั้นได้โปรดอภัยให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด)”  (รายงานโดย อิบนุ มาญะฮฺ หมายเลข 3840 ดู เศาะฮีหฺ อัล-ญามิอฺ ของ อัล-อัลบานีย์ หมายเลข 4423)

คำอธิบายหะดีษ

            คืน ลัยละตุลก็อดรฺเป็นคืนที่มีความประเสริฐและมีเกียรติยิ่ง ความประเสริฐของค่ำคืนนี้ยิ่งใหญ่กว่าเดือนอื่นเป็นพันเท่า บางครั้งทั้งผู้ที่เป็นชายและหญิงไม่ทราบว่าในค่ำคืนนั้นควรอ่านอะไรกันบ้าง หรือว่าไม่มีคำสอนจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม บ้างเลยหรือ? ด้วยเหตุนี้ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ขอให้ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม สอนดุอาอ์ในคืนลัยละตุลก็อดรฺ เนื่องจากดุอาอ์ของท่านรอซูลนั้นเป็นดุอาอ์ที่ดีที่สุด  หาก เราสังเกตแล้ว จะเห็นว่าดุอาอ์ที่ท่านรอซูลวอนขอต่ออัลลอฮฺนั้นเป็นดุอาอ์ที่เกี่ยวข้องกับ การขออภัยต่อัลลอฮฺผู้ทรงให้อภัย ตรงนี้จะเห็นได้ว่าการขอให้อัลลอฮฺลบล้างบาปต่างๆ ให้หมดไปนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง เนื่องจากบาปนั้นเป็นสิ่งที่กีดกั้นมิให้บุคคลเข้าในสรวงสวรรค์ และเป็นเหตุต้องให้เข้านรก ดังนั้นจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมยิ่งที่เราทุกคนควรมีการขอดุอาอ์ต่ออัลลอฮฺใน ค่ำคืนที่ทรงประเสริฐยิ่ง หวังเพื่อจะได้เป็นผู้ที่มีความบริสุทธิ์ผุดผ่องจากบาปทั้งหลาย แท้จริงแล้วอัลลอฮฺทรงรักผู้ที่ขออภัยโทษและบริสุทธิ์จากบาปต่างๆ

บทเรียนจากหะดีษ

1.      ความกระตือรือร้นของท่านหญิงอาอิชะฮฺ ซึ่งเข้าใจถึงภาระหน้าที่ของมุสลิมและมุสลิมะฮฺ  เมื่อได้พบกับลัยละตุลก็อดรฺ
2.      มุสลิมะฮฺก็มีสิทธิที่จะได้รับความดีและความประเสริฐของค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺได้
3.      บัญญัติให้มีการขอดุอาอ์ในค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ เมื่อมีสัญญาณต่างๆ ของมันปรากฏ
4.      ดุอาอ์ในคืนลัยละตุลก็อดรฺที่ดีที่สุดคือดุอาอ์ที่ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้สอนไว้ในหะดีษข้างต้น
5.      ดุอาอ์เพื่อขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺนั้นสำคัญกว่าดุอาอ์อื่นๆ
6.      หนึ่งในคุณลักษณะของอัลลอฮฺนั้นคือ พระองค์เป็นผู้ที่ทรงให้อภัยแก่บ่าวของพระองค์

คุณค่าของการทำอิบาดะฮฺในคืนลัยละตุลก็อดรฺ





عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهُ عَنِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : «مَنْ قَامَ لَيْلَةَ الْقَدْرِ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ».  (البخاري رقم 1768، مسلم رقم 1268)
ความว่า จากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าจากท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า ผู้ ใดที่ลุกขึ้น(ละหมาดกลางคืนและประกอบอิบาดะฮฺอื่นๆ)ในคืนลัยละตุลก็อดรฺ ด้วยเปี่ยมศรัทธาและความหวังในความโปรดปรานของอัลลอฮฺ เขาจะได้รับการอภัยโทษจากความผิดบาปที่ผ่านมาของเขา   (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 1768 และมุสลิม หมายเลข 1268)

คำอธิบาย

            อุละมาอ์บางท่านกล่าวว่า เหตุที่ตั้งชื่อว่าเป็นคืน อัล-ก็อดรฺ  เพราะว่าในคืนนั้นบรรดามะลาอิกะฮฺจะเขียนเกาะดัรฺ(สิ่งที่อัลลอฮฺกำหนด)ต่างๆ ไม่ว่าสิ่งที่เกี่ยวกับริสกี(ปัจจัยและโชคลาภ) รวมถึงอะญัล(อายุขัย)ของมวลมนุษย์ในปีนั้นๆ
บางท่านกล่าวว่า เนื่องจากสถานภาพและความทรงเกียรติของค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ
และบรรดาอุละมาอ์มีมติเป็นเอกฉันท์ว่าค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺจะปรากฏตลอดไปจนถึงวันกิยามะฮฺ
            ท่าน อัล-กอ ฎีย์ อิยาฎ กล่าวว่า บรรดาอุละมาอ์มีทัศนะที่ไม่สอดคล้องกันเกี่ยวกับค่ำคืน ลัยละตุลก็อดรฺ บางท่านมีทัศนะว่า ค่ำคืนดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงในเดือนเราะมะฎอน จากปีหนึ่งไปยังอีกปีหนึ่ง (หมายถึงมีการเลื่อนและไม่ตรงกันทุกปี)

บทเรียนจากหะดีษ
1.      กล่าวถึงความประเสริฐของผู้ที่ประกอบอะมัลอิบาดะฮฺในค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ
2.      ส่งเสริมให้มีการกิยาม (การละหมาดกลางคืนและการประกอบอิบาดะฮฺต่างๆ) ในค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ
3.      การปฏิบัติกิยามในค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺต้องกระทำเพื่อสนองตามคำสั่งของอัลลอฮฺเท่านั้น  และมีความเชื่อมั่นในสัญญาผลตอบแทนที่จะได้รับ และต้องปราศจากการโอ้อวดอื่นๆ
4.      ผลตอบแทนสำหรับผู้ที่ประกอบอิบาดะฮฺตรงกับคืนลัยละตุลก็อดรฺ ก็คือ จะได้รับการอภัยโทษในบาปทั้งหลายที่ผ่านมา และผลบุญอื่นๆ

ความประเสริฐของการละหมาดตะรอวีห



عَنْ أَبِي هُرَيْرَةَ رَضِيَ الله عَنهُ أَنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ قَالَ : «مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ». (البخاري رقم 36، مسلم رقم 1266)

ความว่า จากท่าน อบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าจากท่าน รอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า ผู้ ใดที่ลุกขึ้น(เพื่อละหมาดและประกอบอิบาดะฮฺ)ในคืนของเดือนเราะมะฎอน ด้วยความศรัทธาและหวังในความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ เขาจะได้รับการอภัยโทษจากความผิดบาปที่ผ่านมาของเขา (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ หมายเลข 36 และมุสลิม หมายเลข 1266)

คำอธิบาย
            อะ มัลที่ศาสนาอิสลามส่งเสริมให้บรรดามุสลิมกระทำในเดือนเราะมะฎอน คือ การละหมาดในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็นการละหมาดตะรอวีหฺ และผลการตอบแทนในการปฏิบัตินั้นยิ่งใหญ่ไม่หย่อนไปกว่าการประกอบอิบาดะ ฮฺประเภทอื่นๆ ที่ใช้ให้ปฏิบัติในเดือนเราะมะฎอน เช่น การถือศีลอด เพราะต่างได้รับการสัญญาว่าจะได้รับการอภัยโทษในบาปที่กระทำมา           เฉก เช่นเดียวกับการตอบแทนที่ได้สัญญาแก่คนที่ปฏิบัติอะมัลอิบาดะฮฺในค่ำคืนลัย ละตุลก็อดรฺในด้านการได้รับอภัยโทษ ทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับความมั่นใจของเราต่อคำสั่งของอัลลอฮฺ รวมทั้งความบริสุทธิ์ใจในการปฏิบัติอะมัลดังกล่าวด้วย
           
ส่วน หุก่มของการละหมาดตะรอวีหฺนั้น บรรดาอุละมาอ์ได้ลงความเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า เป็นสุนัตสำหรับชายและหญิง และใช้ให้ปฏิบัติทั้งในรูปแบบญะมาอะฮฺหรือในลักษณะต่างคนต่างทำ แต่การปฏิบัติในรูปแบบญะมาอะฮฺจะมีความประเสริฐมากกว่า


บทเรียนจากหะดีษ
1.      กล่าวถึงความประเสริฐของเดือนเราะมะฎอนและอิบาดะฮฺกิยามุลลัยลฺในเดือนเราะมะฎอน
2.      มีความยะกีน/มั่นใจต่อคำสั่งของอัลลอฮฺ และความบริสุทธิ์ในการประกอบอิบาดะฮฺนั้นถือว่าเป็นเงื่อนไขหลักของการได้มาซึ่งการตอบแทนจากอัลลอฮฺ (หมายถึงอัลลอฮฺจะทรงพิจารณาถึงความบริสุทธิ์ใจในการประกอบอิบาดะฮฺของบ่าว)
3.      ชี้ถึงเราะหฺมัตหรือความเมตตาของอัลลอฮฺ ซึ่งพระองค์จะให้อภัยต่อบาปต่างๆ ที่ผ่านมาแก่ผู้ที่ดำรงละหมาดในค่ำคืนเดือนเราะมะฎอน

การถือศีลอดเราะมะฎอนเป็นศาสนกิจภาคบังคับ


การถือศีลอดเราะมะฎอนเป็นศาสนกิจภาคบังคับ

عَنْ عَائِشَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهَا قَالَتْ : كَانَ يَوْمُ عَاشُورَاءَ تَصُومُهُ قُرَيْشٌ فِي الْجَاهِلِيَّةِ، وَكَانَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَصُومُهُ، فَلَمَّا قَدِمَ الْمَدِينَةَ صَامَهُ وَأَمَرَ بِصِيَامِهِ، فَلَمَّا فُرِضَ رَمَضَانُ تَرَكَ يَوْمَ عَاشُورَاءَ، فَمَنْ شَاءَ صَامَهُ وَمَنْ شَاءَ تَرَكَهُ. (البخاري رقم1863، مسلم رقم 1897)

ความว่า จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮา กล่าวว่า วัน อาชูรออ์(วันที่สิบของเดือนมุหัรฺร็อม) เป็นวันที่พวกกุร็อยช์ถือศีลอดกันในยุคญาฮิลียะฮฺ(ยุคก่อนอิสลาม) ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เองก็ได้ถือศีลอดในวันนั้นเช่นกันก่อนที่ท่านจะเป็นรอซูล ครั้นเมื่อท่านอพยพไปมะดีนะฮฺท่านก็ยังได้ถือศีลอดในวันนั้นอีกและได้สั่ง ให้คนอื่นๆ ถือศีลอดในวันนั้นอีกด้วย จนกระทั่งเมื่อการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนได้ถูกบัญญัติขึ้น ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม จึงได้เลิกถือศีลอดวันอาชูรออ์(หมายถึงไม่ได้เป็นศาสนกิจบังคับอีกต่อไป) ผู้ใดก็ตามที่ต้องการปฏิบัติเขาก็ถือศีลอด(ในวันอาชูรออ์)นั้น หรือผู้ใดไม่ต้องการปฏิบัติเขาก็ละทิ้งมัน(ไม่ถือศีลอดในวันอาชูรออ์)   (รายงานโดยอัล-บุคอรีย์ 1863 และมุสลิม 1897)

คำอธิบายหะดีษ   
            บรรดาอุละมาอ์มีทัศนะที่สอดคล้องกันว่าการถือศีลอดในวันอาชูรออ์นั้น (คือวันที่ 10 ของเดือนมุหัรร็อม) ปัจจุบัน ถือว่าเป็นสุนัตมิใช่วาญิบ แต่พวกเขามีทัศนะที่ขัดแย้งกันถึงหุก่มในสมัยต้นๆ ของอิสลาม ก่อนที่จะมีบัญญัติการถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอน
มัซ ฮับของ อบู หะนีฟะฮฺ มีความเห็นว่าหุก่มของการถือศีลอดอาชูรออ์นั้นเป็นวาญิบดังมีหลักฐานระบุว่า ท่านรอซูลได้สั่งบรรดาเศาะหาบะฮฺให้ถือศีลอด ดังนั้นเมื่อเป็นคำสั่งแล้วหุก่มจึงเป็นวาญิบ
ในมัซฮับชาฟีอีย์เห็นว่าการถือศีลอดดังกล่าวเป็นสุนัต ดังมีหลักฐานอยู่ว่า ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า วันนี้เป็น วันอาชูรออ์ อัลลอฮฺ ไม่ได้ทรงบัญญัติให้สูเจ้าถือศีลอด  ที่ จริงแล้วบรรดาอุละมาอ์มีทัศนะที่เป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับการถือศีลอดในวันอาชู รออ์ว่าไม่เป็นวาญิบแต่เป็นสุนัตเท่านั้น (ชัรหฺ เศาะฮีหฺ มุสลิม โดย อัน-นะวะวีย์ 8/4-5)

บทเรียนจากหะดีษ
1.      การถือศีลอดในวันอาชูรออ์เป็นข้อปฏิบัติของชาวกุร็อยชฺในสมัยญาฮิลียะฮฺ
2.        อาชูรออ์คือ วันที่ 10 ของเดือนมุหัรร็อม
3.      การ ถือศีลอดในวันอาชูรออ์นั้น ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยปฏิบัติมาก่อนหน้าที่การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนจะถูกบัญญัติขึ้นมา
4.      ในช่วงต้นๆ ของการอพยพสู่มะดีนะฮฺ (ฮิจญ์เราะฮฺ) ท่านรอซูลยังถือศีลอดอาชูรออ์และยังสั่งให้บรรดาเศาะหาบะฮฺถือศีลอดอีกด้วย
5.      แต่ในปีที่ 2 ของ ปีฮิจญ์เราะฮฺ โองการเกี่ยวกับการถือศีลอดเดือนเราะมะฎอนก็ถูกประทานลงมา ดังนั้น การถือศีลอดในเดือนเราะมะฎอนจึงถือเป็นฟัรฎูสำหรับผู้ที่มีเงื่อนไขครบถ้วน ตามที่บัญญัติแล้วจะต้องถือปฏิบัติ และการถือศีลอดอาชูรออ์จึงกลายเป็นสุนัตที่สามารถเลือกกระทำหรือเลือกไม่ กระทำก็ได้